งานชิ้นที่ 4




โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
เรื่อง “ สวนสมุนไพรในโรงเรียน

1. โครงการ สวนสมุนไพรในโรงเรียน
2. โครงการใหม่
3.หลักการและเหตุผล
การปลูกฝังให้คนไทยรู้จักดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอและสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรงได้ด้วยตัวเอง จะสามารถช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เช่น  ลดค่ารักษาพยาบาล ลดความสูญเสียจากการเสียโอกาสในการทำงาน เป็นต้น การใช้พืชสมุนไพรอย่างถูกวิธีเป็นแนวทางหนึ่งในการดูแลสุขภาพที่ไม่ต้องลงทุนมาก เนื่องจากโรงเรียนเป็นแหล่งกระจายความรู้ไปสู่ชุมชนโดยผ่านนักเรียนซึ่งมาจากครอบครัวต่างๆ ดังนั้นการจัดทำสวนสมุนไพรในโรงเรียนโดยมีนักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบ ประกอบกับการเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของสมุนไพรและวิธีใช้ที่ถูกต้องจะช่วยให้การใช้สมุนไพรในชุมชนเป็นไปอย่างกว้างขวางขึ้น
การปลูกสมุนไพรในโรงเรียน จะช่วยให้นักเรียนรู้จักการปลูกและบำรุงรักษาพืชด้วยปุ๋ยชีวภาพ เรียนรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของสมุนไพรซึ่งสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของตนเองและคนในครอบครัว นอกจากนี้ในกระบวนการปลูกตลอดจนการดูแลพืชนักเรียนจะได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งยังได้ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ
การจัดทำสวนสมุนไพรในโครงการนี้จะเน้น การปลูกพืชสมุนไพรในสาธารณสุขมูลฐานเนื่องจากเป็นสมุนไพรที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประเมินแล้วว่าสามารถนำมาใช้ได้อย่างปลอดภัยและบรรเทาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นได้ดีนอกจากนี้สมุนไพรส่วนใหญ่สามารถปลูกได้ง่ายและไม่ต้องใช้เวลาในการดูแลรักษามาก นอกจากนี้สวนสมุนไพรที่จัดทำขึ้นยังใช้เป็นสื่อการสอนในวิชาต่างๆได้อีกด้วย


4.วัตถุประสงค์ของโครงการ
                1.  เพื่อรวบรวมพืชสมุนไพรและนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้เพื่อศึกษาประโยชน์ที่ได้จากสมุนไพร              2.  เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับ นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน              3.  เพื่อสร้างความตระหนักในการรักและหวงแหนมรดกทางภูมิปัญญาโบราณในด้านการอนุรักษ์สมุนไพรไทยให้เกิดกับครู-อาจารย์  นักเรียน บุคลากรในโรงเรียน  ชุมชน ท้องถิ่น              4.  เป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านพืชสมุนไพร แก่นักเรียน  ครู – อาจารย์  ชุมชน

5. เป้าหมาย
ด้านปริมาณ
1. มีผู้เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย  50 คน
ด้านคุณภาพ
1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และสามารถนำไปประยุกต์และใช้ประโยชน์จากโครงการอยู่ในระดับดี
2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดี

6. ระยะเวลาดำเนินการ
                เริ่มตั้งแต่วันที่  1 มิถุนายน  2555   ถึงวันที่  31  กันยายน  2555
               
7.วิธีการดำเนินโครงการ
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช  เรื่อง “สวนสมุนไพรในโรงเรียน”  มีวิธีการดำเนินโครงการดังนี้
ขั้นเตรียม
                1 ประชุมกลุ่มเพื่อตกลงหัวข้อโครงการและเสนอหัวข้อโครงการแก่ฝ่ายวิชาการ
                2 จัดประชุมคณะกรรมการวางแผนดำเนินงานโครงการฯ
                3. ติดต่อสถานที่ในการจัดโครงการฯ
               
ขั้นดำเนินโครงการ
1.  รับสมัครนักเรียนที่สนใจ
              2.  ให้ความรู้แก่นักเรียนในหัวข้อสมุนไพร
3. ให้นักเรียนหาพืชสมุนไพรในท้องถิ่นมาคนละ  1  ชนิด
4. เตรียมแปลงสำหรับเพาะปลูกพืชสมุนไพร
5. นำต้นกล้าที่เพาะเลี้ยงแล้วไปปลูกที่แปลงปลูก
6. ให้นักเรียนช่วยกันค้นคว้าชื่อวิทยาศาสตร์  สรรพคุณ  ประโยชน์ของพืชแต่ละชนิดมาติดที่แปลงปลูก
7. ให้สมาชิกในโครงการช่วยกันเผยแพร่ถึงสรรพคุณ  ประโยชน์  แก่นักเรียน  ครูอาจารย์  และผู้ปกครองในท้องถิ่น

ขั้นสรุปผล
                1.  ประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนโดยใช้แบบสอบถาม
                2.  ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล
                3.  สรุปผลการดำเนินการ

8. งบประมาณ
                8.1 ค่าสแลม                         1300  บาท                                                            
                8.2 ปุ๋ยชีวภาพ                      700   บาท
                8.3 อื่นๆ                              1000  บาท

9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
                นางสาวสุนันทา  ศรีทอง
                นางสาวปิยวรรณ  ทองจีน
                นางสาวสุดารัตน์  รัตนบุรี
                นางสาวรุ่งทิพย์   คงเซ่ง
                นางสาวหทัยทิพย์  เดชารัตน์
                นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ

               
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.  มีสวนสมุนไพรในโรงเรียน              2.  นักเรียนมีความรู้เรื่องประโยชน์ของสมุนไพรมากขึ้น              3.  สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างโรงเรียนกับ นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน              4.  สร้างความตระหนักในการรักและหวงแหนมรดกทางภูมิปัญญาโบราณในด้านการอนุรักษ์สมุนไพรไทยให้เกิดกับครู-อาจารย์  นักเรียน บุคลากรในโรงเรียน  ชุมชน ท้องถิ่น              5.  เป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านพืชสมุนไพร แก่นักเรียน  ครู – อาจารย์  ชุมชน










โครงการ  สวนสมุนไพรในโรงเรียน
กลุ่มบริหารงาน/กล่มงาน/กลุ่มสาระ  บริหารงานทั่วไป
ปีงบประมาณ  2555
                                                                        ลงชื่อ                                                     ผู้เสนอโครงการ
                                                                                              (นางสาวสุนันทา  ศรีทอง)
                                                                                                                  29  พฤษภาคม  2555

ความเห็นของกลุ่มบริหารงบประมาณ/แผนงาน
                1. สอดคล้องกับจุดเน้นของ ผอ. ข้อที่ 1 – 5
                2. สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของ สพฐ. ที่  3, 4, 5, 6, 15
                3. สอดคล้องกับกรอบโรงเรียนยอดนิยมของ สพฐ. นศ. 2  ที่  8, 12, 13

ลงชื่อ........................................
                                                                                                                                                       (นายเชาว์  สังข์จันทร์)
............/............../...............

ความเห็นผู้อำนวยการ
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

 อนุมัติ   ไม่อนุมัติ
                                                                                                                                               ลงชื่อ.................................................
                                                                                                                                                      (นายวิเชียร  วงศ์แก้ว)
                                                                                                                                               ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งสงวิทยา
                                                                                                                                                       ............/............/.............


@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2555

งานชิ้นที่  4 
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

แบบฟอร์มการเขียนรายงาน/โครงการ
ของกลุ่มบริหารงาน/กลุ่มงาน กิจการนักเรียน  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
ปีงบประมาณ  2555

1. ชื่องาน / โครงการ  สวนสมุนไพรในโรงเรียน
2. เป็นงาน / โครงงาน    ใหม่   R ต่อเนื่อง 
3. หลักการและเหตุผล
                ต้นไม้เป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อโลกและมนุษย์เป็นอย่างมาก    นั่นคือเป็นปัจจัยสี่   ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์   แต่ในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าต้นไม้ถูกทำลายโดยฝีมือมนุษย์จนทำให้เกิดผลกระทบต่อโลกของเรามากมายอาทิเช่น   ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน   น้ำท่วม   และฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล    ซึ่งผลกระทบเหล่านี้จะส่งผลต่อมนุษย์โดยตรง    ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ต้นไม้     พระองค์ทรงได้ก่อตั้งโครงการศึกษาพันธุกรรมพืชขึ้นเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของต้นไม้และพันธุ์พืชต่างๆ  ซึ่งต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีก็ได้สืบสานโครงการนี้ต่อ    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
                การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พรรณนั้นควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงาม  ความน่าสนใจและเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไปนี้การใช้วิธีการสอนการอบรมที่ให้เกิดความรู้สึกกลัวว่าหากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสียเกิดอันตรายแก่ตนเองจะทำให้เด็กเกิดความเครียด  ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่ประเทศในระยะยาวและทรงให้มีการบรรจุวิชาพืชพรรณเพื่อชีวิตไว้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเพื่อให้นักศึกษาเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของพืชพรรณ                  และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับเยาวชนต่อไป     ซึ่งการถ่ายทอดความรู้นี้ก็สามารถทำได้หลายวิถีทางด้วยกัน   โดยสถานศึกษาก็เป็นอีกสถาบันหนึ่งของสังคมที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้และปลูกฝังให้เยาวชนเกิดจิตสำนึกที่ดีต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม    สถานศึกษาจึงมีหน้าที่และบทบาทที่สำคัญในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชเพื่อให้เยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้และเข้าไปมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในโรงเรียนและท้องถิ่นของตนเอง
                โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้ดำเนินงานเสนอพระราชดำริงาน สวนสมุนไพรในโรงเรียน เพื่อเป็นสื่อในการสร้างจิตสำนึกด้านอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยให้เยาวชนนั้นได้ใกล้ชิดกับพรรณไม้ เห็นคุณค่า ประโยชน์ ความสวยงามอันก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พรรณพืชต่อไป   ด้วยเหตุนี้คณะนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูจึงเห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของพันธุกรรมพืช     จึงได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมาในโรงเรียน
               
4. วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรอย่างเป็นรูปธรรม
2.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกพืชสมุนไพรไว้บริโภคเอง
3.เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเห็นโทษจากการใช้สารเคมีและรณรงค์การใช้น้ำหมักชีวภาพทดแทน
5. เป้าหมาย
1.ด้านปริมาณ
                นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6  จำนวน  68  คน
2.ด้านคุณภาพ
จำนวนพืชสมุนไพรในโรงเรียนทุ่งสงวิทยา  เพิ่มจำนวนมากขึ้นและนักเรียนโรงเรียนทุ่งสงวิทยามีความรู้เรื่องพืชสมุนไพรเพิ่มขึ้น
6. สถานที่ดำเนินการ
บริเวณสวนสมุนไพรหลังอาคาร 2  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา  ตำบลไสไฟลาม อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช

7. ระยะเวลาดำเนินการ
พฤศจิกายน 2555  -   25  กุมภาพันธ์  2555

8. วิธีการดำเนินการ
กิจกรรม /ขั้นตอน
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
1. สำรวจข้อมูลรายละเอียดเพื่อจะทำโครงการและเสนอโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชกับทางโรงเรียน
พฤศจิกายน
นักศึกษาฝึกประสบการณ์
2. ประชุมคณะกรรมการดำเนินการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
พฤศจิกายน
นักศึกษาฝึกประสบการณ์
3. หาข้อมูลเกี่ยวกับพันธุกรรมพืช
ธันวาคม
นักศึกษาฝึกประสบการณ์
4. จัดทำหนังสือพืชสมุนไพรในโรงเรียน
ธันวาคม
นักศึกษาฝึกประสบการณ์
5. จัดกิจกรรมพืชสมุนไพรให้กับนักเรียน
มกราคม
นักศึกษาฝึกประสบการณ์
6. สรุปโครงการภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น
กุมภาพันธ์
นักศึกษาฝึกประสบการณ์



9. งบประมาณ   จำนวนเงิน  1,115 บาท
ลำดับที่
รายการ
จำนวน

ราคาต่อหน่วย
รวมเงิน (บาท)
บาท
สต.
บาท
สต.
1
    กากน้ำตาล
12  ลิตร
20
-
240
-
2
    EM
5 ลิตร
40
-
200
-
3
   แบบบันทึกพืชสมุนไพร
75 เล่ม
15

1,050

รวม
1,490

10. ผู้รับผิดชอบโครงการ  
1.  นางสาวสลาลี                โรจน์สุวรรณ       
                2.  นางสาวรุ่งทิพย์             คงเซ่ง
3.  นางสาวหทัยทิพย์         เดชารัตน์
               
11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนมีความรู้ด้านพืชสมุนไพร
2. นักเรียนช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมในโรงเรียนทำให้มีความร่มรื่นน่าอยู่มากยิ่งขึ้น
3. นักเรียนมีความรู้ในการทำน้ำหมักชีวภาพและสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
12. การประเมินผล
    
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิธีการประเมิน
เครื่องมือประเมิน
ผลผลิต  ( output ) 
ด้านปริมาณ  มีความรู้ด้านพืชพรรณสมุนไพรจำนวน 20 ชนิด
หนังสือบันทึกพืชสมุนไพร
ด้านคุณภาพ  ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลพืชสมุนไพร
หนังสือบันทึกพืชสมุนไพร
ผลลัพธ์  ( outcome )  
สำรวจความพึงพอใจและความรู้ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมสวนสมุนไพรในโรงเรียน
แบบประเมินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช



ชื่อโครงการ สวนสมุนไพรในโรงเรียน
กลุ่มบริหารงาน/กลุ่มงาน/กลุ่มสาระ  กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
ปีงบประมาณ  2556


                                                                                            ลงชื่อ ..........................................ผู้เสนอโครงการ
                                                                                                          (นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ)
                                                                                                                  12  ธันวาคม  2555
ความเห็นกลุ่มบริหารงบประมาณ / แผนงาน
1. สอดคล้องกับจุดเน้นของ ผอ. ข้อที่ ..............-.....................................................................................
2. สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของ สพฐ. ที่ ...................................................................

                                                                                     ลงชื่อ ...............................................
                                                                                                 (นายเชาว์  สังข์จันทร์ )
                                                                                                    12  ธันวาคม  2555



ความเห็นผู้อำนวยการ  ..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

o   อนุมัติ
o   ไม่อนุมัติ


                                                                                           ลงชื่อ .......................................................
                                                                                                            ( นายวิเชียร  วงศ์แก้ว )
                                                                                                          ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งสงวิทยา
                                                                                                    .........../................../...................

โครงการเพศศึกษารอบด้าน

แบบฟอร์มการเขียนรายงาน/โครงการ
ของกลุ่มบริหารงาน/กลุ่มงาน/กลุ่มสาระ/กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
ปีงบประมาณ  2555

1.   ชื่องาน / โครงการ        เพศศึกษารอบด้าน
2.   เป็นงาน / โครงการ    R ใหม่    □  ต่อเนื่อง
3.   หลักการและเหตุผล
                หากย้อนมองปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบันแล้ว  โดยเฉพาะเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่น  ปัญหาหลัก ๆ ก็คงหนีไม่พ้นปัญหายาเสพติดและปัญหาการตั้งท้องโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งเป็นข่าวให้เห็นอยู่มากมาย  คือ การทำแท้ง  การนำเด็กไปทิ้ง  โดยปัญหาดังกล่าวมักเกิดกับเด็กที่อยู่ในวัยรุ่น  วัยเรียนที่ชีวิตกำลังสดใส สนุกสนานกับทุกเรื่องราว  เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ  เป็นวัยที่มีนิสัยใจร้อน  วู่วาม  ขาดสติ  ติดเพื่อนตามเพื่อน  อยากรู้อยากลอง  โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าวมีอยู่ด้วยกันหลาย ๆ สาเหตุ  เช่น
1. ขาดการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด  เพราะ  พ่อ แม่  ในยุคสมัยใหม่  มักเลี้ยงลูกด้วยเงิน  ทำแต่งานจนลืมให้เวลากับลูก
2. การบริโภคสื่อที่ส่อไปทางลามกอนาจาร
3. ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก  เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันดูแลตนเอง
                จนในที่สุดทำให้เกิดปัญหา  ท้องแบบไม่ตั้งใจ  หลายคนที่พบเหตุการณ์นี้มืดแปดด้านถึงขนาด เครียดขึ้นสมอง คิดวนไปวนมาหาทางไปต่อไม่เจอ จะปรึกษาพ่อแม่ก็กลัวโดนทำโทษ กลัวพ่อแม่ผิดหวัง จะอุ้มท้องต่อไป  ก็ไม่อยากตัดอนาคตและความก้าวหน้า แถมไม่รู้จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน จะไปเอาออกก็กลัวผิดกฏหมาย ผิดศิลธรรม ซ้ำโดนประณาม  ในที่สุด จึงต้องออกมาในรูป ทำแท้ง หรือ ทำแท้งเถื่อน ซึ่งเสี่ยงอันตรายอาจถึงชีวิต
                ดังนั้นการที่จะแก้ปัญหาก็ควรที่จะแก้จากต้นเหตุ  โดยการปลูกฝังให้ความรู้  ให้เยาวชนวัยรุ่นยุคใหม่  รักได้คุมให้เป็น  เห็นความสำคัญกับการคุมกำเนิดโดยเริ่มจากตนเอง  ด้วยเหตุนี้คณะนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  ได้เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาดังกล่าว  จึงได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมาในโรงเรียน
4.  วัตถุประสงค์ 
                เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้  เล็งเห็นความสำคัญกับการคุมกำเนิดและนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
5.  เป้าหมาย
5.1  ด้านปริมาณ (ระบุตัวเลข)
                                นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2/2  จำนวน 35 คน
                5.2  ด้านคุณภาพ (เขียนเชิงนามธรรม)
                                นักเรียนได้รับการฝึกอบรม มีความรู้  เล็งเห็นความสำคัญกับการคุมกำเนิดและนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
6.  ตัวชี้วัดความสำเร็จ 
                6.1   ร้อยละของนักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิด  70 %
                6.2    ร้อยละของนักเรียนที่มีความพึงพอใจในโครงการเพศศึกษารอบด้าน  70 %
7.  ระยะเวลาในการดำเนินการ
                เริ่มตั้งแต่วันที่                      1            เดือน  พฤศจิกายน                             พ.ศ. 2555            
                จนถึงวันที่                                         4            เดือน  กุมภาพันธ์                              พ.ศ. 2555
8. วิธีการดำเนินการ
กิจกรรม /ขั้นตอน
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
1. สำรวจข้อมูลรายละเอียดเพื่อจะทำโครงการและเสนอโครงการเพศศึกษารอบด้านกับทางโรงเรียน
พฤศจิกายน
นักศึกษาฝึกประสบการณ์
2. ประชุมคณะกรรมการดำเนินการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
พฤศจิกายน
นักศึกษาฝึกประสบการณ์
3. หาข้อมูลเกี่ยวกับการคุมกำเนิด
พฤศจิกายน
นักศึกษาฝึกประสบการณ์
4. จัดทำคู่มือโครงการเพศศึกษารอบด้าน
ธันวาคม
นักศึกษาฝึกประสบการณ์
5. จัดกิจกรรมโครงการเพศศึกษารอบด้านให้กับนักเรียน
มกราคม
นักศึกษาฝึกประสบการณ์
6. สรุปโครงการภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้น
กุมภาพันธ์
นักศึกษาฝึกประสบการณ์

9.  งบประมาณ
                1.  งบบุคลากร                     -              บาท
                2.  งบดำเนินการ              2,500    บาท
                3.  งบลงทุน                         -              บาท
                4.  เงินอื่น ๆ                        -              บาท
                รวมทั้งสิ้น                            2,500         บาท





แผนการใช้จ่ายเงินในงาน / โครงการ

          เดือน
วัน
พ.ย.
ก.พ.
รวมเงิน (บาท)
1 .. – 4  ก.. 55
                               2,500         
2,500         
10.  ผู้รับผิดชอบ
                1.  นางสาวสลาลี                โรจน์สุวรรณ
                2.  นางสาวรุ่งทิพย์             คงเซ่ง
                3.  นางสาวหทัยทิพย์         เดชารัตน์

11.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                นักเรียนมีความรู้ด้านการคุมกำเนิด และเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาการตั้งท้องแบบไม่ตั้งใจ  และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

รายการวัสดุครุภัณฑ์ที่ใช้ในโครงการเพศศึกษารอบด้าน
ของกลุ่มบริหารงาน/กลุ่มงาน/กลุ่มสาระ  กลุ่มงานบุคคล
ปีงบประมาณ 2555

ลำดับที่
รายการ-ครุภัณฑ์
จำนวน
หน่วย บาท
จำนวน บาท
1.
ค่าเอกสาร

500
500
2.
ค่าอาหาร

2,000
2,000
รวมทั้งสิ้น
2,500







ชื่อโครงการ เพศศึกษารอบด้าน
กลุ่มบริหารงาน/กลุ่มงาน/กลุ่มสาระ   วิทยาศาสตร์
ปีงบประมาณ  2555


                                                                                            ลงชื่อ ..........................................ผู้เสนอโครงการ
                                                                                                          (นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ)
                                                                                                                  18  ธันวาคม  2555
ความเห็นกลุ่มบริหารงบประมาณ / แผนงาน
1. สอดคล้องกับจุดเน้นของ ผอ. ข้อที่ ..............-.....................................................................................
2. สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของ สพฐ. ที่ ...................................................................

                                                                                     ลงชื่อ ...............................................
                                                                                                 (นายเชาว์  สังข์จันทร์ )
                                                                                                    18  ธันวาคม  2555



ความเห็นผู้อำนวยการ  ............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

o   อนุมัติ
o   ไม่อนุมัติ


                                                                                           ลงชื่อ .......................................................
                                                                                                            ( นายวิเชียร  วงศ์แก้ว )
                                                                                                          ผู้อำนวยการโรงเรียนทุ่งสงวิทยา
                                                                                                    .........../................../...................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น