งานชิ้นที่ 5

งานชิ้นที่  5

โครงการวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้

   เรื่อง  การพัฒนาความกระตือรือร้นในการส่งงานซึ่งเป็นคะแนนเก็บระหว่างภาคเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/4


1.       ชื่อเรื่อง          การพัฒนาความกระตือรือร้นในการส่งงานซึ่งเป็นคะแนนเก็บระหว่างภาคเรียนของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่  1/4
2.       ชื่อผู้วิจัย        นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ
3.       สภาพปัญหา
จากการทำรายงานสรุปคะแนนเก็บระหว่างภาคเรียน (ปพ.5) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/4
รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน  1 พบว่ามีนักเรียนจำนวน  11  คนที่ยังส่งงานไม่ครบซึ่งทำให้ไม่มีคะแนนเก็บในช่องคะแนนงานที่ยังไม่ได้ส่งและอาจเป็นเหตุให้นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางเรียนไม่ผ่านเกณฑ์  เป็นผลเนื่องมาจากการขาดความรับผิดชอบ  และขาดความกระตือรือร้นในการเรียน
                จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาการพัฒนาความกระตือรือร้นในการส่งงาน  เพื่อให้นักเรียนทั้ง 
11  คนนี้มีคะแนนเก็บครบทุกช่อง  และเพื่อปลูกฝังคุณลักษณะความกระตือรือร้นให้เกิดขึ้นแก่นักเรียนเอง
4.       วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.       เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะความกระตือรือร้นให้เกิดขึ้นแก่นักเรียนเอง
2.       เพื่อให้นักเรียนทั้ง  11  คนนี้มีคะแนนเก็บครบทุกช่องคะแนน
5.       สาเหตุ
1.       ไม่กล้ามาติดต่ออาจารย์
2.       กลัวอาจารย์ดุด่า
3.       ไม่เห็นความสำคัญของคะแนนเก็บ
4.       ขาดเรียนและไม่ยอมติดตามงานจากเพื่อนหรือครู
6.       วิธีดำเนินการวิจัย
1.       แจ้งนักเรียนทั้ง  11  คนและเรียกพบเป็นการส่วนตัว
2.       อธิบายให้นักเรียนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเรียนและการส่งงานเพื่อมีคะแนนเก็บและบอก
ว่าคะแนนจะสามารถช่วยให้เรามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
3.       ให้นักเรียนทำงานที่ค้างส่งมาส่งให้ครบทุกชิ้น
7.       ผลการวิจัยพบว่า
        นักเรียนทั้ง  11  คน  มีคะแนนเก็บครบทุกช่องคะแนน



@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@




   เรื่อง  การแก้ปัญหาการปรับตัวเข้ากับเพื่อนของนักเรียนสมาธิสั้นในห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/3 

 
1.       ชื่อเรื่อง          การแก้ปัญหาการปรับตัวเข้ากับเพื่อนของนักเรียนสมาธิสั้นในห้องเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/3 
2.       ชื่อผู้วิจัย        นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ
3.       ปัญหาและสาเหตุ
โรงเรียนทุ่งสงวิทยาตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลไสไฟลาม  อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  เป็น
โรงเรียนขนาดกลางระดับตำบล  ที่รับนักเรียนในเขตพื้นที่และบริเวณใกล้เคียงเข้ามาศึกษาเล่าเรียน  โดยนักเรียนที่เข้ามาศึกษาเล่าเรียนก็จะมีทั้งนักเรียนปกติและนักเรียนที่มีปัญหาด้านต่าง ๆ เรียนอยู่ร่วมกัน  ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้เป็นครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 1 ประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/3  ประกอบด้วยนักเรียน  35  คน  เป็นชาย  24  คน  หญิง  11  คน ในจำนวนนี้มีนักเรียนสมาธิสั้นเรียนร่วมอยู่ด้วย  1  คน  เป็นนักเรียนชายซึ่งผู้เรียนจะมีปัญหา  เพื่อนรำคาญและรังเกียจ  สังเกตจากการแสดงท่าที  เช่น  ไม่ยอมให้เข้ากลุ่มทำงานด้วย  พูดจาด่าว่า  สาเหตุมาจากเอมีพฤติกรรมไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม  เช่น  เดินไปเดินมาในห้องขณะครูสอน  หยิบเครื่องมือ/อุปกรณ์ทดลองมาเล่น  พูดจาเพ้อเจ้อ  อารมณ์ฉุนเฉียว  ก้าวร้าว  เกเร
4.       วิธีการแก้ไข
1.       ครูพูดคุยกับนักเรียนในห้องเกี่ยวกับความรู้สึกที่มีต่อนักเรียนสมาธิสั้น  พบว่าหลายคนรังเกียจ
และรำคาญ  โดยเฉพาะนักเรียนหญิง  แต่ก็มีนักเรียนที่เข้าใจและมองเห็นความดีของเอ  เช่น  ความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครู    
                2. ครูพูดคุยกับนักเรียนให้รับรู้ว่าครูหวังให้นักเรียนทุกคนมีความสุขในการอยู่ร่วมกัน  ครูขอความร่วมมือจากเพื่อนทุกคนให้เข้าใจและยอมรับเพื่อนที่มีความแตกต่างจากเรา  ขณะเดียวกันครูก็แสดงพฤติกรรมให้นักเรียนทุกคนเห็นว่าครูยอมรับเอ  เช่น  การพูดคุยด้วยความยินดีกับเอ  สนับสนุนให้คำชมเชยเมื่อเอแสดงความมีน้ำใจกับเพื่อนและครู                3.  ครูให้คำแนะนำเอเป็นการส่วนตัวเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาพร้อมตกลงเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในห้องเรียน  การใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์  เมื่อเอปฏิบัติตามข้อตกลง  ครูให้คำชมเชยและให้ความสนิทสนมกับเอมากขึ้น  เช่น  การพูดคุยเรื่องส่วนตัว 
5.        ผลการแก้ไข
ผลจากการแก้ไขพบว่าเมื่อเวลาผ่านไป  เอสามารถปรับตัวได้ดีขึ้นทีละน้อย  เอรู้จักระงับอารมณ์
ตนเองในการแสดงพฤติกรรมมากขึ้น  เช่น  เดินไปเดินมาในห้องขณะครูสอนน้อยลง  ไม่หยิบเครื่องมือ/อุปกรณ์ทดลองมาเล่น  เพื่อน ๆ แสดงการยอมรับและไม่มีใครมีท่าทีรังเกียจ  แต่การมีอารมณ์ฉุนเฉียว  ก้าวร้าว  เกเร  ยังคงมีอยู่บ้าง  ซึ่งต้องดำเนินการช่วยเหลือแก้ไขต่อไป
 


@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@


เรื่อง  การแก้ปัญหานักเรียนอ่านชื่อธาตุในตารางธาตุไม่ถูกต้อง

1.             ชื่อเรื่อง
        การแก้ปัญหานักเรียนอ่านชื่อธาตุในตารางธาตุไม่ถูกต้อง
2.              ชื่อผู้วิจัย
       นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ
3.              ปัญหา
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2  จำนวน  48  คน  เป็นชาย  14  คน  หญิง  34  คน อ่านชื่อธาตุในตารางธาตุไม่ถูกต้อง
4.              สาเหตุ
1.             ไม่ได้รับการฝึกให้อ่านชื่อธาตุ
2.             นักเรียนไม่รู้ว่าเป็นชื่อธาตุอะไร
3.             นักเรียนอ่านไม่ออกว่าชื่อธาตุอะไร
4.             ครูที่เคยสอนมาไม่ได้เน้นให้อ่านชื่อธาตุ
5.              วิธีการแก้ปัญหา
ใช้ใบความรู้  เรื่อง  20  ธาตุพื้นฐานในตารางธาตุที่ควรรู้จัก
1.             ให้นักเรียนฝึกเขียนสัญลักษณ์ธาตุและชื่อธาตุจากใบความรู้ เรื่อง  20  ธาตุพื้นฐานในตารางธาตุ
ที่ควรรู้จัก
               2.  ให้นักเรียนฝึกอ่านสัญลักษณ์ธาตุและชื่อธาตุทั้ง  20  ธาตุพื้นฐานในตารางธาตุโดยครูเป็นผู้อ่านออกเสียงให้ฟังและให้นักเรียนอ่านออกเสียงตาม
               3.  ครูให้นักเรียนฝึกท่องจำสัญลักษณ์ธาตุและชื่อธาตุทั้ง  20  ธาตุพื้นฐานในตารางธาตุและกำหนดวันเวลาเพื่อสอบท่องกับครูรายบุคคล โดยครูจะให้คะแนนเพื่อเสริมแรงพร้อมทั้งยกย่องชมเชยนักเรียนที่ท่องจำสัญลักษณ์ธาตุและชื่อธาตุทั้ง  20  ธาตุได้ถูกต้อง  ส่วนนักเรียนที่ยังท่องจำไม่ได้ก็เสริมแรงโดยการให้กำลังใจ  และให้แก้ไขข้อบกพร่อง  ซึ่งมีครูคอยให้คำแนะนำวิธีการและหลักการที่ถูกต้อง
               4.  ให้โอกาสกับนักเรียนที่ยังท่องจำไม่ได้ได้แก้ตัวโดยให้เวลาไปท่องจำและมาสอบท่องกับครูเป็นรายบุคคลอีกครั้งหนึ่ง
6.               ผลการแก้ไข
การแก้ปัญหานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2  จำนวน  48  คน  เป็นชาย  14  คน  หญิง  34  คน อ่านชื่อธาตุในตารางธาตุไม่ถูกต้องแล้วนำมาฝึกตามขั้นตอนนักเรียนสามารถท่องจำสัญลักษณ์ธาตุและชื่อธาตุในตารางธาตุ  20  ธาตุพื้นฐานได้ถูกต้องและมีความมั่นใจในการอ่านชื่อธาตุมากขึ้น  แต่จะมีนักเรียน  คนที่ท่องจำธาตุ  20  ธาตุพื้นฐานไม่ได้แต่สามารถอ่านชื่อธาตุจากสัญลักษณ์ธาตุได้  เมื่อดูจากการอ่านชื่อธาตุของนักเรียน  มีการพัฒนาการอ่านชื่อธาตุในตารางธาตุดีขึ้นเรื่อย  ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น