งานชิ้นที่ 6



แผนการจัดการเรียนรู้
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1/2  และ  1/3  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา




นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ






นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  โรงเรียนทุ่งสงวิทยา
อำเภอทุ่งสง  จังหวัดนครศรีธรรมราช
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต  12


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1  วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2  รหัสวิชา ว 21102
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1                                           ภาคเรียนที่ 2                                              ปีการศึกษา  2555หน่วยการเรียนรู้ที่ 1   เรื่อง  บรรยากาศ                       
เรื่อง
  ความสำคัญและองค์ประกอบของบรรยากาศ                                                                         เวลา  2  ชั่วโมง
ผู้สอน  นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ                                                                                              โรงเรียน  ทุ่งสงวิทยา
 

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 6. 1       เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของ
กระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 8.1     ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ตัวชี้วัด
6.1 ม. 1/1 สืบค้นและอธิบายองค์ประกอบและการแบ่งชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมผิวโลก
8.1 ม.1-3/1 - .1-3/9

จุดประสงค์การเรียนรู้
                1. อธิบายความสำคัญของบรรยากาศที่หุ้มห่อโลกของเราได้ (K)
                2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
                3. ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
                4. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
5. สามารถแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องบรรยากาศและความสำคัญของบรรยากาศกับเพื่อนได้ (P)

สาระสำคัญ
                บรรยากาศเป็นอากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวของสิ่งมีชีวิต และหุ้มห่อโลกของเรา สภาพของบรรยากาศรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับบรรยากาศของโลกล้วนส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก อากาศเป็นส่วนผสมของแก๊สชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ไนโตรเจน ออกซิเจน อาร์กอน คาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ และอื่น ๆ

สาระการเรียนรู้
บรรยากาศ
                - ความสำคัญของบรรยากาศ
                - องค์ประกอบของอากาศ

กระบวนการจัดการเรียนรู้
ครูดำเนินการทดสอบก่อนเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความพร้อมและพื้นฐานของนักเรียน

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                1) ครูนำสนทนากับนักเรียนว่าโลกของเราเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่นักวิทยาศาสตร์สำรวจพบในขณะนี้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ แล้วให้นักเรียนช่วยกันคิดหาเหตุผลสนับสนุนว่า ทำไมโลกของเราจึงเหมาะกับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
                2) นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม ครูนำอภิปรายว่าการที่โลกของเรามีชั้นบรรยากาศหุ้มห่อโลกและมีแก๊สต่าง ๆ อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้ ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนรู้กันต่อไปว่าการมีชั้นบรรยากาศหุ้มห่อมีความสำคัญต่อโลกและสิ่งมีชีวิตอย่างไรบ้าง

ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                จัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                1) ขั้นสร้างความสนใจ
                (1) ครูนำสื่อมัลติมีเดีย หรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับบรรยากาศ และสภาพอากาศของโลกมาให้นักเรียนดู แล้วตั้งประเด็นคำถาม เช่น
                - ถ้าโลกของเราไม่มีบรรยากาศหุ้มห่อไว้จะเกิดอะไรขึ้น
                - หน้าที่สำคัญของบรรยากาศมีอะไรบ้าง
                - สภาพอากาศที่อยู่บริเวณชายทะเล ยอดเขา ทะเลทรายจะมีความแตกต่างกันหรือไม่ เพราะอะไร
                - สภาพอากาศที่ร้อน หนาว ฝนตก ลมหรือมีพายุ เกิดจากอะไร ปัจจัยที่ทำให้สภาพอากาศมีความแตกต่างกันมีอะไรบ้าง
                (2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจากแนวคำตอบของนักเรียน
                2) ขั้นสำรวจและค้นหา
                (1) นักเรียนแบ่งกลุ่ม ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความสำคัญของบรรยากาศต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก และองค์ประกอบของบรรยากาศ จากหนังสือเรียน อินเทอร์เน็ต และเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                (2) แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอในเรื่องที่ศึกษาค้นคว้ามา ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย นักเรียนสรุปความรู้ที่ได้ลงในสมุด
                (3) นักเรียนแบ่งกลุ่มปฏิบัติกิจกรรม สังเกตไอน้ำในอากาศ แต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ดังนี้
                1. นำแก้วน้ำมา 1 ใบ เทน้ำลงไปในแก้ว
                2. ใส่น้ำแข็งลงไปในแก้วประมาณ 4­5 ก้อน สังเกตและบันทึกผล
                3. ตั้งแก้วน้ำทิ้งไว้ 10 นาที สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น บันทึกผล
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายผลของการปฏิบัติกิจกรรม แล้วส่งตัวแทนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
                (2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถาม เช่น
                - ถ้าไม่ใช้น้ำเปล่าเราสามารถใช้สิ่งใดแทนจึงจะได้ผลใกล้เคียงกัน
                - หยดน้ำที่ปรากฏอยู่บริเวณข้างแก้วเกิดจากอะไร
                - ผลสรุปของกิจกรรมนี้คืออะไร
                (3) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า หยดน้ำที่เกาะอยู่ข้างแก้วเกิดจากการที่ไอน้ำในอากาศเคลื่อนที่มากระทบกับผิวแก้วที่เย็นกว่า จึงเกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำเกาะติดอยู่ข้างแก้วให้เห็น ทำให้สรุปได้ว่าไอน้ำมีอยู่ในอากาศ
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนแบ่งกลุ่มปฏิบัติกิจกรรม สืบค้นข้อมูลองค์ประกอบของอากาศ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
    1. ให้แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น หนังสือเรียน หนังสืออ้างอิง หนังสือประกอบ หนังสือพิมพ์ วารสารต่าง ๆ หรือทางอินเทอร์เน็ตที่มีเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องต่อไปนี้
บรรยากาศ
องค์ประกอบของอากาศ
                    2. นำข้อมูลที่ได้ในแต่ละกลุ่มมาสรุปและอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
                (2) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม
(3) ให้นักเรียนดูแผนภูมิแสดงองค์ประกอบของอากาศ ในหนังสือเรียนหรือที่ครูจัดทำขึ้น ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนภูมิ รวมทั้งแก๊ส ไอน้ำ และสารแขวนลอยต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของอากาศ
(4) นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการที่มีไอน้ำอยู่ในอากาศมาก กับการที่มีไอน้ำอยู่ในบรรยากาศน้อยมีผลดี ผลเสียอย่างไร และการที่อากาศประกอบด้วยแก๊สต่าง ๆ หลายชนิดในอัตราส่วนที่ไม่เท่ากันมีข้อดีหรือข้อเสียต่อสิ่งมีชีวิตในเรื่องใด
(5) นักเรียนค้นคว้าคำศัพท์ภาษาภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับบรรยากาศ จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต แล้วบันทึกลงในสมุด
(5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่า จากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
                (2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไขอย่างไรบ้าง
                (3) นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
                (4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
                - ถ้าไม่มีอากาศหรือบรรยากาศหุ้มห่อโลกของเรา ในเวลากลางวัน และกลางคืนโลกจะมีการเปลี่ยนอุณหภูมิในลักษณะใด
                - บรรยากาศประกอบด้วยแก๊สชนิดใดบ้าง
                - แก๊สที่ช่วยในการปรุงอาหารของพืชคือแก๊สชนิดใด
                - องศ์ประกอบของอากาศมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอะไร

ขั้นสรุป
                ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของบรรยากาศและองค์ประกอบของบรรยากาศ โดยร่วมกันสรุปเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์

กิจกรรมเสนอแนะ
                นักเรียนช่วยกันจัดป้ายนิเทศแสดงความสำคัญและองค์ประกอบของบรรยากาศ

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
                1) สื่อมัลติมีเดีย หรือวีดิทัศน์เกี่ยวกับบรรยากาศ และสภาพอากาศของโลก
                2) หนังสืออ้างอิง หนังสืออ่านประกอบ วารสาร ฯลฯ
                3) เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องทางอินเทอร์เน็ต
4) ใบงานที่ 1 สังเกตไอน้ำในอากาศ
        5) ใบงานที่ 2 สืบค้นข้อมูลองค์ประกอบของอากาศ
                6) หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ เล่ม 2  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


การวัดและการประเมินผล
สิ่งที่ต้องการวัด
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การประเมินผล
1. ด้านความรู้ความเข้าใจ
- ซักถามความรู้เรื่องความสำคัญของบรรยากาศและองค์ประกอบของอากาศ
- ให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่เรียนรู้
- ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม
-ประเมินกิจกรรมฝึกทักษะระหว่างเรียน
-ทดสอบก่อนเรียน
- สมุดบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
2. ด้านทักษะกระบวน การ
-  ให้นักเรียนศึกษาหาความรู้จากใบความรู้โดยใช้กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์
-ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
- สังเกตการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
- ใบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
3. ด้านเจตคติทางวิทยา ศาสตร์
-  สังเกตการทำกิจกรรมของนักเรียน

- แบบประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ 2








บันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
                ปัญหาและอุปสรรค
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
                แนวทางการแก้ไขเพื่อจะนำไปใช้ในครั้งต่อไป
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………………………………ผู้สอน
(นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ)
                ข้อเสนอแนะของครูพี่เลี้ยง
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………..……………….อาจารย์พี่เลี้ยง
(นางพรทิพย์  เชยบัวแก้ว)
















ใบงานที่ 
สังเกต ไอน้ำในอากาศ
ปัญหา
…………………………………………………………………………………………………
อุปกรณ์
1. แก้ว  1  ใบ                                       2. น้ำแข็ง  45 ก้อน
3. น้ำ 30  ลบ.ซม.                               4. นาฬิกา  1 เรือน
ขั้นตอนการสังเกต
1. นำแก้วน้ำมา 1 ใบ เทน้ำลงไปในถ้วยแก้ว                
2. ใส่น้ำแข็งลงไปในแก้วประมาณ 45 ก้อน สังเกตและบันทึกผล
3. ตั้งแก้วน้ำทิ้งไว้ 10 นาที สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  บันทึกผล
 






แสดงอุปกรณ์ที่ใช้ทดลองไอน้ำในอากาศ

บันทึกผลการสังเกต
รายการ
ผลการสังเกต
เริ่มการสังเกต

ตั้งทิ้งไว้ 10 นาที


สรุปผล
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


คำถามท้ายการทดลอง

1. ถ้าไม่ใช้น้ำเปล่า นักเรียนคิดว่าเราสามารถใช้สิ่งใดแทนจึงจะได้ผลใกล้เคียงกัน
……………………………………………………………………………………………………………......
2. จากการสังเกตพบการเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้น
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………...
3. หยดน้ำที่ปรากฏอยู่บริเวณข้างแก้วเกิดจากอะไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
4. ผลสรุปของการทดลองนี้คืออะไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5. นักเรียนได้ประโยชน์อะไรจากการปฏิบัติกิจกรรมนี้
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….























ใบงานที่
สืบค้นข้อมูลองค์ประกอบของอากาศ
ปัญหา
……………………………………………………………………………………………………………  
ขั้นตอนการสืบค้นข้อมูล
1.  แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 3­5 คน
2.  ให้แต่ละกลุ่มสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น หนังสือเรียน หนังสืออ้างอิง หนังสือประกอบ หนังสือพิมพ์ วารสารต่าง ๆ หรือทางอินเทอร์เน็ตที่มีเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเรื่องต่อไปนี้
  1) บรรยากาศ
  2) องค์ประกอบของอากาศ
3.  นำข้อมูลที่ได้ในแต่ละกลุ่มมาสรุปและอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
บันทึกผลการสืบค้นข้อมูล
รายการบันทึกผลการสืบค้นข้อมูล
วันที่_______ เดือน ____________________ พ.ศ. _________

ทำลงในสมุด














คำถาม
1. อากาศประกอบด้วยแก๊สต่าง ๆ ไอน้ำ และฝุ่นละออง แก๊สที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตมากที่สุดคืออะไร และมีอยู่ร้อยละเท่าไร
2. ถ้านักเรียนนำแผ่นกระดาษทิ้งไว้กลางสนามหญ้า พอรุ่งเช้าสังเกตเห็นหยดน้ำติดอยู่บนแผ่นกระดาษทั้ง ๆ ที่ฝนไม่ตก หยดน้ำนั้นมาจากที่ใด
3. องค์ประกอบของอากาศมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอะไร
4นักเรียนคิดว่า การที่อากาศประกอบด้วยแก๊สต่าง ๆ หลายชนิดในอัตราส่วนที่ไม่เท่ากันมีข้อดีหรือข้อเสียต่อสิ่งมีชีวิตในเรื่องใด
5. นักเรียนคิดว่า ป่าไม้เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของอากาศในลักษณะใด
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2   วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2  รหัสวิชา ว 21102
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1                                           ภาคเรียนที่ 2                                              ปีการศึกษา  2555หน่วยการเรียนรู้ที่ 1   เรื่อง  บรรยากาศ                        
เรื่อง
  การแบ่งชั้นบรรยากาศ                                                                                                                  เวลา  2  ชั่วโมง
ผู้สอน  นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ                                                                                              โรงเรียน  ทุ่งสงวิทยา
 

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 6. 1       เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของ
กระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 8.1     ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ตัวชี้วัด
6.1 ม. 1/1 สืบค้นและอธิบายองค์ประกอบและการแบ่งชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมผิวโลก
8.1 ม.1-3/1 - .1-3/9

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายลักษณะสำคัญของบรรยากาศที่ปกคลุมผิวโลกแต่ละชั้นได้ (K)
                2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
                3. ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
                4. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
                5. ระบุเกณฑ์ที่ใช้แบ่งชั้นบรรยากาศของโลกได้ (P)
6. สามารถแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการแบ่งชั้นบรรยากาศกับเพื่อนได้ (P)

สาระสำคัญ
                การแบ่งชั้นบรรยากาศจำแนกตามลักษณะที่ปรากฏเด่นชัด คือ อุณหภูมิ สมบัติของแก๊ส และสมบัติทางอุตุนิยมวิทยา
               
สาระการเรียนรู้
                บรรยากาศ
- การแบ่งชั้นบรรยากาศ

กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                1) ครูตั้งประเด็นคำถาม เช่น
                ­ นักเรียนรู้หรือไม่ว่าบรรยากาศที่หุ้มห่อโลกของเราอยู่นี้มีขอบเขตมากน้อยเพียงใด
                ­ อุณหภูมิบรรยากาศมีการเปลี่ยนแปลงตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้นจากพื้นโลกหรือไม่ อย่างไร
                ­ แก๊สต่าง ๆ ในบรรยากาศมีการเปลี่ยนแปลงตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้นจากพื้นโลกหรือไม่ อย่างไร
                2) นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม ครูแนะนำว่าถ้ายังไม่แน่ใจในคำตอบ เราสามารถศึกษาได้ในหัวข้อที่จะเรียนต่อไปนี้
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                จัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                1) ขั้นสร้างความสนใจ
                (1) ครูนำแผนภาพหรือซีดีรอมเกี่ยวกับการแบ่งชั้นบรรยากาศของโลกมาให้นักเรียนดู แล้วถามนักเรียนว่า
                ­ เพราะเหตุใดนักวิทยาศาสตร์จึงแบ่งชั้นบรรยากาศของโลกออกเป็นชั้นต่าง ๆ
­ นักวิทยาศาสตร์แบ่งบรรยากาศออกเป็นชั้น ๆ โดยใช้เกณฑ์อะไรบ้าง
                (2) นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม
                2) ขั้นสำรวจและค้นหา
                จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือ (ปริศนาความคิด) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                ­ นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่ละคนศึกษา 1 หัวข้อ ดังนี้
                การแบ่งชั้นบรรยากาศตามเกณฑ์อุณหภูมิ
                การแบ่งชั้นบรรยากาศตามเกณฑ์สมบัติของแก๊สในบรรยากาศ
                การแบ่งชั้นบรรยากาศตามเกณฑ์อุตุนิยมวิทยา
                - สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสืบค้นข้อมูลในห้องสมุด อินเทอร์เน็ต นำข้อมูลที่ได้มาร่วมกันอภิปรายจนสมาชิกทุกคนในกลุ่มเข้าใจ เรียบเรียงข้อมูลทำเป็นรายงาน
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถาม เช่น
­ การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์แบ่งออกเป็นกี่ชั้น อะไรบ้าง
­ เครื่องบินมักทำการบินอยู่ในบรรยากาศชั้นใด เพราะอะไร
                ­ การแบ่งชั้นบรรยากาศตามเกณฑ์สมบัติของแก๊สในบรรยากาศแบ่งออกเป็นกี่ชั้น อะไรบ้าง
                ­ แก๊สไฮโดรเจนและฮีเลียมมีมากในบรรยากาศชั้นใด
                ­ การแบ่งชั้นบรรยากาศตามเกณฑ์อุตุนิยมวิทยาแบ่งออกเป็นกี่ชั้น อะไรบ้าง
                (3) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม
4) ขั้นขยายความรู้
   นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับลักษณะสำคัญของบรรยากาศชั้นที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ และถ้าบรรยากาศแต่ละชั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง สรุปความรู้ที่ได้ลงในสมุด
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่า จากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
                (2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไขอย่างไรบ้าง
                (3) นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
­ ในช่วงระยะความสูงจากระดับน้ำทะเล 0­10 กิโลเมตร ลักษณะอุณหภูมิของอากาศเป็นแบบใด
                ­ การแบ่งชั้นบรรยากาศตามเกณฑ์อุณหภูมิแตกต่างจากการแบ่งตามเกณฑ์สมบัติของแก๊สในบรรยากาศ ในเรื่องใดบ้าง
                ­ บรรยากาศชั้นใดที่มีการสะท้อนคลื่นวิทยุได้ดี
                ­ จุดเด่นของบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์คืออะไร
ขั้นสรุป
1) นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับการแบ่งชั้นบรรยากาศ โดยร่วมกันเขียนสรุปเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์
2) ครูดำเนินการทดสอบหลังเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อวัดความก้าวหน้า/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ตอนที่ 1 ของนักเรียน

กิจกรรมเสนอแนะ
                นักเรียนแบ่งกลุ่มทำแผนภาพ หรือจัดป้ายนิเทศ เกี่ยวกับการแบ่งชั้นบรรยากาศของโลก โดยมีการบอกจุดเด่น หรือลักษณะสำคัญของบรรยากาศแต่ละชั้น

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
                1) แผนภาพหรือซีดีรอม การแบ่งชั้นบรรยากาศของโลก
                2) ห้องสมุด
                3) อินเทอร์เน็ต
                4) หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ เล่ม 2  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

การวัดและการประเมินผล

สิ่งที่ต้องการวัด
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การประเมินผล
1. ด้านความรู้ความเข้าใจ
- ซักถามความรู้เรื่องการแบ่งชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมผิวโลก
- ให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่เรียนรู้
- ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม
- ประเมินกิจกรรมฝึกทักษะระหว่างเรียน
- ทดสอบหลังเรียน
- สมุดบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
2. ด้านทักษะกระบวน การ
-  ให้นักเรียนศึกษาหาความรู้จากใบความรู้โดยใช้กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์
- ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
- สังเกตการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
- ใบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
3. ด้านเจตคติทางวิทยา ศาสตร์
-  สังเกตการทำกิจกรรมของนักเรียน

- แบบประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ 2


บันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
                ปัญหาและอุปสรรค
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
                แนวทางการแก้ไขเพื่อจะนำไปใช้ในครั้งต่อไป
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………………………………ผู้สอน
(นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ)
                ข้อเสนอแนะของครูพี่เลี้ยง
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………..……………….อาจารย์พี่เลี้ยง
(นางพรทิพย์  เชยบัวแก้ว)











แผนการจัดการเรียนรู้ที่  3   วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2  รหัสวิชา ว 21102
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1                                           ภาคเรียนที่ 2                                              ปีการศึกษา  2555หน่วยการเรียนรู้ที่ 1   เรื่อง  บรรยากาศ                        
เรื่อง
  อุณหภูมิ                                                                                                                                            เวลา  2  ชั่วโมง
ผู้สอน  นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ                                                                                              โรงเรียน  ทุ่งสงวิทยา
 

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 6. 1       เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของ
กระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 8.1     ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ตัวชี้วัด
6.1 ม. 1/2 ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง อุณหภูมิ ความชื้นและความกดอากาศที่มีผลต่อ
ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ
8.1 ม.1-3/1 - .1-3/9

จุดประสงค์การเรียนรู้
                1. อธิบายการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศได้ (K)
2. ฝึกใช้เทอร์มอมิเตอร์วัดอุณหภูมิได้ (P)
                3. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
                4. ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
                5. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
                6. สื่อสารและนำความรู้เรื่องอุณหภูมิไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (P)



สาระสำคัญ
                อุณหภูมิของอากาศ คือ ระดับความร้อนของอากาศที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลา เนื่องจากโลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ไม่เท่ากัน ในตอนเช้าและตอนเย็นอุณหภูมิของอากาศจะลดลง และจะมีอุณหภูมิสูงสุดในตอนกลางวัน อุณหภูมิของอากาศที่ระดับพื้นดินจะสูงกว่าอุณหภูมิของระดับที่สูงขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิ คือ เทอร์มอมิเตอร์

สาระการเรียนรู้
                อุณหภูมิ

กระบวนการจัดการเรียนรู้
ครูดำเนินการทดสอบก่อนเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความพร้อม และพื้นฐานของนักเรียน
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                (1) ครูตั้งประเด็นคำถาม เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่องอุณหภูมิของอากาศ เช่น
                ­ ทำไมในตอนกลางวันอากาศจึงร้อนมากกว่าตอนเช้าและตอนเย็น
                ­ ในฤดูหนาว ภาคใดของประเทศไทยที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุด เป็นเพราะเหตุใด
                ­ ในฤดูร้อน ภาคใดของประเทศไทยที่มีอากาศร้อนที่สุด เป็นเพราะเหตุใด
                (2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจากแนวคำตอบของนักเรียน           
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                จัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูถามนักเรียนว่าถ้าจะวัดอุณหภูมิของอากาศจะใช้เครื่องมืออะไรในการวัด และมีวิธีการวัดอย่างไร
                (2) นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม ครูบอกนักเรียนว่าสามารถหาคำตอบได้จากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้
                2) ขั้นสำรวจและค้นหา
                นักเรียนแบ่งกลุ่มปฏิบัติกิจกรรม สังเกตอุณหภูมิของอากาศ แต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ ดังนี้
1. นำเทอร์มอมิเตอร์ไปติดตั้งกับขาตั้ง โดยใช้ที่จับหนีบเทอร์มอมิเตอร์ยึดไว้กับขาตั้ง ดังรูปในหนังสือเรียน

แสดงการจัดอุปกรณ์วัดอุณหภูมิของอากาศ

 
 









2. ตั้งเทอร์มอมิเตอร์ไว้ในบริเวณที่จะทำการวัดอุณหภูมิของอากาศ
3. บันทึกอุณหภูมิของอากาศทุก ๆ 2 ชั่วโมง  ตั้งแต่ 08.00 น. ถึง 18.00 น. ลงในตารางบันทึกผลการสำรวจ
4. เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับเวลา
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายผลของการปฏิบัติกิจกรรม แล้วส่งตัวแทนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
                (2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถาม เช่น
                ­ หน้าที่สำคัญของเทอร์มอมิเตอร์คืออะไร
                ­ จากการปฏิบัติกิจกรรม อุณหภูมิจะสูงสุดในช่วงเวลาใด
                ­ นักเรียนคิดว่าอุณหภูมิในแต่ละท้องถิ่นในช่วงเวลาเดียวกันจะมีค่าเท่ากันหรือไม่ เพราะเหตุใด
                ­ อุณหภูมิของอากาศมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะใด
                (2) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า อุณหภูมิของอากาศจะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลาใน 1 วัน โดยในตอนเช้าอุณหภูมิจะต่ำและค่อย ๆ สูงขึ้นจนกระทั่งสูงสุดในตอนบ่าย และจะค่อย ๆ ลดต่ำลงในตอนเย็น
                (4) ครูใช้แผนภาพในหนังสือเรียน หรือแผนภาพที่ครูทำขึ้นใหม่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ใน 1 วัน การหมุนรอบตัวเองของโลก ระยะช่วงเวลาของฤดูกาลต่าง ๆ ในประเทศไทย ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังพื้นผิวโลกในฤดูหนาวและฤดูร้อน ประกอบการอธิบายสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศ
4) ขั้นขยายความรู้
(1) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายอุณหภูมิของพื้นดินและพื้นน้ำ
(2) ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือวัดอุณหภูมิแบบต่าง ๆ นำข้อมูลที่ได้มาจัดเป็นป้ายนิเทศ จัดแสดงให้ความรู้หน้าชั้นเรียน
(5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่า จากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
                (2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไขอย่างไรบ้าง
                (3) นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
                (4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
                ­ สาเหตุที่ทำให้อากาศใกล้พื้นดินมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศในระดับสูงขึ้นไป ทั้ง ๆ ที่ยิ่งสูงก็ยิ่งอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ คืออะไร
                ­ เมื่อขึ้นไปบนภูเขาสูง ๆ อุณหภูมิของอากาศจะมีลักษณะใด
                ­ ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศ
                ­ พื้นดินและพื้นน้ำจะสามารถรับเอาพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้ได้เท่ากันหรือไม่ อย่างไร
ขั้นสรุป
                ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับอุณหภูมิของอากาศ

กิจกรรมเสนอแนะ
1. นักเรียนนำเทอร์มอมิเตอร์ไปวัดอุณหภูมิที่บ้านในวันหยุด แล้วนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกัน หรือเมื่อนักเรียนไปเที่ยวบนภูเขาสูง ลองนำเทอร์มอมิเตอร์ติดตัวไปด้วยเพื่อวัดอุณหภูมิของอากาศ
                2. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลสถิติอุณหภูมิของประเทศไทยในฤดูกาลต่าง ๆ ย้อนหลัง 5-10 ปี นำข้อมูลที่ได้มาจัดกระทำให้เข้าใจได้ง่าย จัดเป็นป้ายนิเทศให้ความรู้หน้าชั้นเรียน

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. แผนภาพเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ใน 1 วัน การหมุนรอบตัวเองของโลก
                2. ใบงานที่ 3 สังเกตอุณหภูมิของอากาศ
                3. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ เล่ม 2  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1






การวัดและการประเมินผล

สิ่งที่ต้องการวัด
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การประเมินผล
1. ด้านความรู้ความเข้าใจ
- ซักถามความรู้เรื่องอุณหภูมิ
- ให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่เรียนรู้
- ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม
- ประเมินกิจกรรมฝึกทักษะระหว่างเรียน
- ทดสอบหลังเรียน
- สมุดบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
2. ด้านทักษะกระบวน การ
-  ให้นักเรียนศึกษาหาความรู้จากใบความรู้โดยใช้กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์
- ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
- สังเกตการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
- ใบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
3. ด้านเจตคติทางวิทยา ศาสตร์
-  สังเกตการทำกิจกรรมของนักเรียน

- แบบประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ 2









บันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
                ปัญหาและอุปสรรค
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
                แนวทางการแก้ไขเพื่อจะนำไปใช้ในครั้งต่อไป
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………………………………ผู้สอน
(นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ)
                ข้อเสนอแนะของครูพี่เลี้ยง
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………..……………….อาจารย์พี่เลี้ยง
(นางพรทิพย์  เชยบัวแก้ว)

















ใบงานที่  3
สังเกต  อุณหภูมิของอากาศ
ปัญหา
………………………………………………………………………………………………………….........
อุปกรณ์
1. เทอร์มอมิเตอร์                               1 อัน
2. ขาตั้ง                                                                 1 อัน
3. ที่จับ                                                  2 อัน
4. นาฬิกา                                              1 เรือน

ขั้นตอนการสังเกต
1. นำเทอร์มอมิเตอร์ไปติดตั้งกับขาตั้งโดยใช้ที่จับหนีบเทอร์มอมิเตอร์ยึดไว้กับขาตั้ง ดังรูป
2. ตั้งเทอร์มอมิเตอร์ไว้ในบริเวณที่จะทำการวัดอุณหภูมิของอากาศ
3. บันทึกอุณหภูมิของอากาศทุก ๆ 2 ชั่วโมง ตั้งแต่ 08.00 น. ถึง 18.00 น. ลงในตารางบันทึกผล
การสำรวจ
4. เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับเวลา
แสดงการจัดอุปกรณ์วัดอุณหภูมิของอากาศ

 
 










หมายเหตุ อุณหภูมิของอากาศจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของแต่ละท้องถิ่นที่นักเรียนทำการสำรวจ



บันทึกผลการสำรวจ
เวลา (ชั่วโมง)
อุณหภูมิที่วัดได้ (C)
เวลา (ชั่วโมง)
อุณหภูมิที่วัดได้ (C)
8.00

14.00

10.00

16.00

12.00

18.00


เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับเวลา






สรุปผล
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
คำถาม
1.             หน้าที่สำคัญของเทอร์มอมิเตอร์คืออะไร
………………………………………………………………………………………………………  
2.             นักเรียนคิดว่าอุณหภูมิในแต่ละท้องถิ่นในช่วงเวลาเดียวกันมีค่าเท่ากันหรือไม่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3.             อุณหภูมิของอากาศมีลักษณะอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
4.             จากการปฏิบัติกิจกรรมอุณหภูมิจะขึ้นสูงสุดในช่วงเวลาใด
………………………………………………………………………………………………………
5.             นักเรียนได้ประโยชน์อะไรจากการปฏิบัติกิจกรรมนี้
………………………………………………………………………………………………………
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  4   วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2  รหัสวิชา ว 21102
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1                                           ภาคเรียนที่ 2                                              ปีการศึกษา  2555หน่วยการเรียนรู้ที่ 1   เรื่อง  บรรยากาศ                       
เรื่อง
 
ความชื้น                                                                                                                                            เวลา  2  ชั่วโมง
ผู้สอน  นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ                                                                                              โรงเรียน  ทุ่งสงวิทยา
 

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 6. 1       เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของ
กระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 8.1     ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ตัวชี้วัด
6.1 ม. 1/2 ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง อุณหภูมิ ความชื้นและความกดอากาศที่มีผลต่อ
ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ
8.1 ม.1-3/1 - .1-3/9

จุดประสงค์การเรียนรู้
                1. อธิบายความหมายและผลของความชื้นในอากาศต่อชีวิตประจำวันได้ (K)
                2. ระบุเครื่องมือและหลักการวัดความชื้นในอากาศได้ (K)
                3. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
                4. ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนำความรู้เรื่องความชื้นของอากาศไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (P)


สาระสำคัญ
                ความชื้น คือ ปริมาณไอน้ำในอากาศ ซึ่งเกิดจากการระเหยของน้ำจากแหล่งต่าง ๆ บนพื้นผิวโลก และการคายน้ำของพืชทำให้เกิดไอน้ำขึ้น ความชื้นของอากาศมี 2 ลักษณะ ได้แก่ ความชื้นสัมบูรณ์ และความชื้นสัมพัทธ์ เครื่องมือในการวัดความชื้นในบรรยากาศ ได้แก่ ไฮโกรมิเตอร์แบบกระเปาะเปียกและกระเปาะแห้ง เครื่องวัดความชื้นแบบเส้นผมหรือแฮร์ไฮโกรมิเตอร์

สาระการเรียนรู้
ความชื้น

กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                1) ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับอากาศชื้น อากาศแห้ง เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่องความชื้น โดยใช้แนวคำถาม เช่น
                ­ อากาศชื้นคืออะไร
                ­ อากาศแห้งคืออะไร
                ­ นักเรียนจะมีวิธีสังเกตอย่างไรว่าวันนี้อากาศชื้นมากหรือน้อย
                ­ นักเรียนคิดว่าอุณหภูมิของอากาศเกี่ยวข้องกับความชื้นหรือไม่ อย่างไร
                2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจากแนวคำตอบของนักเรียน ครูเพิ่มเติมว่า การที่ร่างกายของเรารู้สึกร้อนหรือเย็น นอกจากจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิแล้วยังขึ้นอยู่กับความชื้นด้วย

ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                จัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                1) ขั้นสร้างความสนใจ
                (1) ครูให้นักเรียนดูภาพหรือซีดีรอมเกี่ยวกับพื้นที่ที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลาย บริเวณริมทะเลสาบหรือทะเล และบริเวณทะเลทราย แล้วตั้งประเด็นคำถาม เช่น
­ บริเวณใดน่าจะมีความชื้นในอากาศมาก เพราะอะไร
­ การตัดไม้ทำลายป่ามีผลต่อความชื้นในอากาศหรือไม่ ในลักษณะใด
­ ไอน้ำในอากาศส่วนใหญ่ได้มาจากแหล่งใด
­ การระเหยของน้ำมีความสัมพันธ์กับความชื้นหรือไม่ ในลักษณะใด
                (2) นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม
                2) ขั้นสำรวจและค้นหา
                (1) นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับความชื้น อากาศไม่อิ่มตัว อากาศอิ่มตัวในหนังสือเรียน
                (2) นักเรียนแบ่งกลุ่มปฏิบัติกิจกรรม สังเกตความชื้นของบรรยากาศกับการระเหย แต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ ดังนี้
1. ใช้สำลีชุบน้ำแล้วหุ้มกระเปาะเทอร์มอมิเตอร์ทั้ง 2 อัน เพื่อให้เทอร์มอมิเตอร์เปียก บันทึก
อุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์ทั้ง 2 อัน
2. ใส่น้ำลงในกล่องพลาสติกเบอร์ 3 ประมาณครึ่งหนึ่ง แล้วเสียบเทอร์มอมิเตอร์อันหนึ่งลงกลางแผ่นดินน้ำมัน จากนั้นนำไปปิดที่กล่องพลาสติกแทนฝากล่อง แล้วจัดให้กระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์ที่หุ้มด้วยสำลีอยู่เหนือผิวน้ำเล็กน้อย นำเทอร์มอมิเตอร์ทั้ง 2 อันไปติดตั้งกับขาตั้ง ตามรูปในหนังสือเรียน

 













3. ตั้งเทอร์มอมิเตอร์ทิ้งไว้ประมาณ  5 นาทีแล้วบันทึกอุณหภูมิที่อ่านได้จากเทอร์มอมิเตอร์ทั้ง 2 อัน
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถาม เช่น
­ หลังจากตั้งทิ้งไว้ 5 นาที อุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์ทั้งสองแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
­ การใช้สำลีชุบน้ำหุ้มกระเปาะเทอร์มอมิเตอร์ ถ้าสำลีเปียกน้ำไม่เท่ากันจะมีผลต่อกิจกรรมนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด
                ­ เพราะเหตุใดเทอร์มอมิเตอร์กระเปาะเปียกที่อยู่ในกล่องที่มีน้ำ อุณหภูมิจึงไม่ลดลง
                (3) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า กระเปาะเทอร์มอมิเตอร์อันที่อยู่ในกล่อง อุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากน้ำที่อยู่ในกล่องระเหยกลายเป็นไออยู่ในที่ว่างภายในกล่องเต็มไปหมด ทำให้น้ำจากสำลีที่หุ้มกระเปาะเทอร์มอมิเตอร์ระเหยเข้าสู่ที่ว่างดังกล่าวไม่ได้หรือได้ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เรียกสภาวะอากาศเหนือน้ำในกล่องว่า อากาศอิ่มตัว
                (4) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับความชื้นสัมบูรณ์ ความชื้นสัมพัทธ์ และการวัดความชื้นในอากาศ
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนฝึกคำนวณหาความชื้นสัมบูรณ์และความชื้นสัมพัทธ์จากโจทย์ที่ครูกำหนดให้
(2) นักเรียนร่วมกันอภิปรายในประเด็น ความชื้นสัมพัทธ์มีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ในเรื่องใด
(3) นักเรียนฝึกใช้เครื่องมือวัดความชื้นของอากาศ โดยวัดความชื้นในบริเวณต่าง ๆ ของโรงเรียนในเวลาต่าง ๆ กัน แล้วบันทึกค่าที่ได้ลงในสมุด
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่า จากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
                (2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไขอย่างบ้าง
                (3) นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
                ­ ความชื้นในอากาศจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งใด
                ­ ในฤดูหนาวตากผ้าแห้งเร็วทั้งที่อากาศไม่ร้อน เนื่องจากสาเหตุใด
                ­ ถ้าในอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์มาก เราจะรู้สึกอย่างไร
                ­ ความชื้นที่พอเหมาะสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์มีค่าเท่ากับเท่าใด (ร้อยละ 60 ของไอน้ำในอากาศอิ่มตัว)

กิจกรรมเสนอแนะ
                1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5­6 คน ช่วยกันศึกษาค้นคว้าวิธีการประดิษฐ์ไฮโกรมิเตอร์แบบเส้นผม หรืออาจช่วยกันออกแบบขึ้นเอง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและให้ความช่วยเหลือ แล้วนำเสนอผลงานที่นักเรียนสร้างขึ้น
                2. นักเรียนร่วมกันปลูกต้นไม้ หรือรณรงค์ให้มีการปลูกต้นไม้ในท้องถิ่นเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ



สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
                1. ภาพหรือซีดีรอมเกี่ยวกับพื้นที่ที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลาย บริเวณริมทะเลสาบหรือทะเล บริเวณทะเลทราย
                2. ใบงานที่ 4 สังเกตความชื้นของบรรยากาศกับการระเหย
                3. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ เล่ม 2  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

การวัดและการประเมินผล

สิ่งที่ต้องการวัด
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การประเมินผล
1. ด้านความรู้ความเข้าใจ
- ซักถามความรู้เรื่องความชื้นของอากาศ
- ให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่เรียนรู้
- ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม
- ประเมินกิจกรรมฝึกทักษะระหว่างเรียน
- ทดสอบหลังเรียน
- สมุดบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
2. ด้านทักษะกระบวน การ
-  ให้นักเรียนศึกษาหาความรู้จากใบความรู้โดยใช้กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์
- ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
- สังเกตการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
- ใบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
3. ด้านเจตคติทางวิทยา ศาสตร์
-  สังเกตการทำกิจกรรมของนักเรียน

- แบบประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ 2



บันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
                ปัญหาและอุปสรรค
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
                แนวทางการแก้ไขเพื่อจะนำไปใช้ในครั้งต่อไป
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………………………………ผู้สอน
(นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ)
                ข้อเสนอแนะของครูพี่เลี้ยง
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………..……………….อาจารย์พี่เลี้ยง
(นางพรทิพย์  เชยบัวแก้ว)

                                                                                















ใบงานที่ 4
สังเกตความชื้นของอากาศ
ปัญหา
……………………………………………………………………………………………………………….

อุปกรณ์
1. สำลี 2 ก้อน                                      2. กล่องพลาสติกเบอร์ 3   1 กล่อง
3. ด้ายหรือยางรัด 2 เส้น                   4. ดินน้ำมัน 1 ก้อน
5. เทอร์มอมิเตอร์ 2 อัน                     6. ขาตั้ง 1 อัน
7. ที่จับ 2 อัน                                        8. นาฬิกาจับเวลา 1 เรือน

ขั้นตอนการสังเกต
1. ใช้สำลีชุบน้ำแล้วหุ้มกระเปาะเทอร์มอมิเตอร์ทั้ง 2 อัน เพื่อให้เทอร์มอมิเตอร์เปียก บันทึกอุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์ทั้ง 2 อัน
2. ใส่น้ำลงในกล่องพลาสติกเบอร์ 3 ประมาณครึ่งหนึ่ง แล้วเสียบเทอร์มอมิเตอร์อันหนึ่งลงกลางแผ่นดินน้ำมัน จากนั้นนำไปปิดที่กล่องพลาสติกแทนฝากล่อง แล้วจัดให้กระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์ที่หุ้มด้วยสำลีอยู่เหนือผิวน้ำเล็กน้อย นำเทอร์มอมิเตอร์ทั้ง 2 อันไปติดตั้งกับขาตั้ง ดังรูป
3. ตั้งเทอร์มอมิเตอร์ทิ้งไว้ประมาณ  5 นาทีแล้วบันทึกอุณหภูมิที่อ่านได้จากเทอร์มอมิเตอร์ทั้ง 2 อัน

 












บันทึกผลการสังเกต

การวัดอุณหภูมิ
อุณหภูมิที่อ่านได้ ( C)
อันที่ 1 (ในกล่อง)
อันที่ 2
ก่อนการสังเกต


หลังจากตั้งทิ้งไว้  5 นาที



สรุปผล
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
คำถามท้ายการทดลอง
1.             การวัดอุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์หุ้มสำลีชุบน้ำทั้งสองก่อนการทดลองเพื่ออะไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2.             อุณหภูมิก่อนการทดลองของเทอร์มอมิเตอร์ทั้งสองเหมือนหรือแตกต่างกัน
……………………………………………………………………………………………………………..
3.             การใช้สำลีชุบน้ำหุ้มเทอร์มอมิเตอร์ ถ้าสำลีเปียกน้ำไม่เท่ากันจะมีผลต่อการทดลองหรือไม่ เพราะ
เหตุใด
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
4.             เพราะเหตุใดเทอร์มอมิเตอร์กระเปาะเปียกที่อยู่ในกล่องที่มีน้ำ อุณหภูมิจึงไม่ลดลง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5.             นักเรียนได้ประโยชน์อะไรจากการปฏิบัติกิจกรรมนี้
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  5   วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2  รหัสวิชา ว 21102
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1                                           ภาคเรียนที่ 2                                              ปีการศึกษา  2555หน่วยการเรียนรู้ที่ 1   เรื่อง  บรรยากาศ                        
เรื่อง
  ความกดอากาศ                                                                                                                                เวลา  2  ชั่วโมง
ผู้สอน  นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ                                                                                              โรงเรียน  ทุ่งสงวิทยา
 

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 6. 1       เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของ
กระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 8.1     ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ตัวชี้วัด
6.1 ม. 1/2 ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง อุณหภูมิ ความชื้นและความกดอากาศที่มีผลต่อ
ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ
8.1 ม.1-3/1 - .1-3/9

จุดประสงค์การเรียนรู้
                1. อธิบายความหมายของความกดอากาศได้ (K)
                2. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิ ความชื้น และความกดอากาศได้ (K)
                3. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
                4. ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนำความรู้เรื่องความกดอากาศไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (P)



สาระสำคัญ
                ความกดอากาศ คือ ค่าแรงดันของอากาศต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่รองรับแรงดันนั้น หรืออัตราส่วนของแรงดันต่อหน่วยพื้นที่ตั้งฉากที่แรงดันนั้นกระทำ ที่ระดับความสูงเดียวกันความดันอากาศจะเท่ากัน เมื่อความสูงเพิ่มขึ้น อุณหภูมิและความกดอากาศจะลดลง เครื่องมือในการวัดความกดอากาศมีหลายชนิด เช่น บารอมิเตอร์แบบปรอท แอนิรอยด์บารอมิเตอร์ บอรอกราฟ แอลติมิเตอร์

สาระการเรียนรู้
ความกดอากาศ

กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                1) ครูนำหนังสือหลาย ๆ เล่มมาวางซ้อนกันหน้าชั้นเรียน แล้วถามนักเรียนว่า
                ­ หนังสือเล่มใดถูกแรงกดมากที่สุด
                ­ หนังสือเล่มใดถูกแรงกดน้อยที่สุด 
                2) นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม ครูนำอภิปรายว่าบริเวณพื้นโลกเปรียบได้กับหนังสือเล่มที่ 1 อากาศที่อยู่เหนือพื้นโลกเปรียบได้กับหนังสือเล่มที่ 2 ดังนั้นพื้นผิวโลกจึงถูกแรงกดจากอากาศที่อยู่สูงขึ้นไป แรงชนิดนี้เรียกว่า แรงดันอากาศ หรือความดันอากาศ ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนรู้ในหัวข้อต่อไปนี้

ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                จัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                1) ขั้นสร้างความสนใจ
                (1) ครูรินน้ำอุ่นจากกระติกน้ำร้อนลงในขวดพลาสติกใส (ขวดน้ำขนาดเล็ก) เขย่าขวดแล้วเทน้ำออก ปิดฝาขวดให้แน่นทันที เมื่อทิ้งขวดไว้สักครู่ ขวดจะบุบ ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น
                (2) นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม ครูนำอภิปรายว่า ขวดบุบเนื่องจากอุณหภูมิภายในขวดลดลง ไอน้ำในขวดควบแน่นเป็นหยดน้ำ ทำให้ความดันในขวดลดลง ความดันภายนอกสูงกว่าจึงดันขวดให้บุบลง และเมื่อเปิดฝาขวด อากาศภายนอกจะเคลื่อนที่เข้าไปในขวดและดันให้ขวดพองตัวได้ดังเดิม
                2) ขั้นสำรวจและค้นหา
                (1) นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับความกดอากาศในหนังสือเรียน
                (2) นักเรียนแบ่งกลุ่มปฏิบัติกิจกรรม สังเกตความกดอากาศ แต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ ดังนี้
1. นำสายพลาสติกใสที่เตรียมมาจุ่มลงในน้ำให้น้ำเข้าไปอยู่ประมาณครึ่งสาย
2. จับปลายทั้งสองขึ้น งอเป็นรูปตัวยู โดยให้ปลายทั้งสองอยู่ในระดับเดียวกัน สังเกตระดับน้ำทั้งสองข้าง ดังรูป ()
3. ยกปลายด้านขวามือให้สูงกว่าปลายด้านซ้ายมือ แล้วเปลี่ยนให้ปลายด้านซ้ายมือสูงกว่าปลายด้านขวามือบ้าง สังเกตและเปรียบเทียบระดับน้ำในสายพลาสติกใสแต่ละครั้งว่ามีลักษณะใด แล้วบันทึกผล
4. เป่าลมเข้าทางปลายด้านใดด้านหนึ่งโดยเริ่มเป่าเบา ๆ ก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มแรงเป่าให้มากขึ้นเรื่อย ๆ ดังรูป () ระวังอย่าให้น้ำล้นออกจากสายพลาสติกใส สังเกตระดับน้ำที่ปลายทั้ง
สองข้าง แล้วบันทึกผล

 









3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถาม เช่น
­ เพราะเหตุใดจึงต้องงอสายพลาสติกใสให้โค้งพอประมาณก่อนทำการเป่าลมเข้าไปในสายพลาสติกใส
­ การที่นักเรียนเป่าลมเข้าทางปลายด้านหนึ่งของสายพลาสติกใสเป็นการทำให้ความดันอากาศข้างนั้นเปลี่ยนแปลงในลักษณะใด
                ­ เมื่อความดันของอากาศ 2 ด้านของสายพลาสติกใสไม่เท่ากัน ระดับน้ำอยู่ในระดับเดียวกันหรือไม่
                (3) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ได้ข้อสรุปว่า ระดับน้ำที่ปลายสายพลาสติกใส 2 ด้านจะเท่ากันเมื่อความดันของอากาศที่ปลายทั้ง 2 ด้านเท่ากัน และระดับน้ำที่ปลายสายพลาสติกใสทั้งสองด้านไม่เท่ากันเมื่อความดันของอากาศที่ปลายทั้ง 2 ด้านไม่เท่ากัน
                (4) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิของอากาศ ความชื้น และความกดอากาศ และการวัดความกดอากาศ

4) ขั้นขยายความรู้
(1) ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่สร้างขึ้นโดยอาศัยหลักการของความดันอากาศ เช่น หลอดกาแฟ กาลักน้ำ เป็นต้น ทำเป็นรายงานส่งครู
(2) นักเรียนฝึกใช้เครื่องมือวัดความดันอากาศ และวัดความดันอากาศในบริเวณต่าง ๆ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ แล้วบันทึกผลลงในสมุด
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่า จากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
                (2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไขอย่างบ้าง
                (3) นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
                ­ ความดัน 1 บรรยากาศคืออะไร
                ­ เมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ความดันอากาศจะเป็นอย่างไร
                ­ ความสัมพันธ์ระหว่างความสูงจากระดับน้ำทะเลกับความดันอากาศคืออะไร
                ­ ทำไมเมื่อเดินขึ้นภูเขาสูง ๆ จึงรู้สึกหูอื้อ และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร

ขั้นสรุป
1) นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับความดันอากาศ โดยอาจเขียนสรุปเป็นผังมโนทัศน์เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น
2) ครูดำเนินการทดสอบหลังเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อวัดความก้าวหน้า/ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ตอนที่ 2 ของนักเรียน

กิจกรรมเสนอแนะ
                1. นักเรียนสืบค้นข้อมูลประวัติการสร้างเครื่องมือวัดความกดอากาศ จัดทำเป็นรายงานส่งครู
                2. ให้นักเรียนติดตามข่าวสารรายงานสภาพอากาศในแต่ละวันของแต่ละภาคในประเทศไทยว่ามีความกดอากาศสูงหรือต่ำ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาจัดป้ายนิเทศหน้าชั้นเรียน




สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
                1. ขวดพลาสติกใส
                2. ใบงานที่ 5 สังเกตความกดอากาศ
                3. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ เล่ม 2  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

การวัดและการประเมินผล

สิ่งที่ต้องการวัด
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การประเมินผล
1. ด้านความรู้ความเข้าใจ
- ซักถามความรู้เรื่องความกดอากาศ
- ให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่เรียนรู้
- ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม
- ประเมินกิจกรรมฝึกทักษะระหว่างเรียน
- ทดสอบหลังเรียน
- สมุดบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
2. ด้านทักษะกระบวน การ
-  ให้นักเรียนศึกษาหาความรู้จากใบความรู้โดยใช้กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์
- ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
- สังเกตการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
- ใบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
3. ด้านเจตคติทางวิทยา ศาสตร์
-  สังเกตการทำกิจกรรมของนักเรียน

- แบบประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ 2



บันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
                ปัญหาและอุปสรรค
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
                แนวทางการแก้ไขเพื่อจะนำไปใช้ในครั้งต่อไป
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………………………………ผู้สอน
(นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ)
                ข้อเสนอแนะของครูพี่เลี้ยง
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………..……………….อาจารย์พี่เลี้ยง
(นางพรทิพย์  เชยบัวแก้ว)













ใบงานที่ 5
สังเกตความกดอากาศ
ปัญหา
………………………………………………………………………………………………………………
อุปกรณ์
1. สายพลาสติกใสขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.6 ซม. 1 เส้น
2. ถังน้ำพลาสติกใส่น้ำประมาณ   ถัง                                        1 ถัง

ขั้นตอนการสังเกต
1. นำสายพลาสติกใสที่เตรียมมาจุ่มลงในน้ำให้น้ำเข้าไปอยู่ประมาณครึ่งสาย
2. จับปลายทั้งสองขึ้น งอเป็นรูปตัวยู โดยให้ปลายทั้งสองอยู่ในระดับเดียวกัน สังเกตระดับ
น้ำทั้งสองข้าง ดังรูป ()
3. ยกปลายด้านขวามือให้สูงกว่าปลายด้านซ้ายมือ แล้วเปลี่ยนให้ปลายด้านซ้ายมือสูงกว่าปลาย
ด้านขวามือบ้าง สังเกตและเปรียบเทียบระดับน้ำในสายพลาสติกใสแต่ละครั้งว่ามีลักษณะใด แล้วบันทึกผล
4. เป่าลมเข้าทางปลายด้านใดด้านหนึ่งโดยเริ่มเป่าเบา ๆ ก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มแรงเป่าให้
มากขึ้นเรื่อย ๆ ดังรูป () ระวังอย่าให้น้ำล้นออกจากสายพลาสติกใส สังเกตระดับน้ำที่ปลายทั้ง
สองข้าง แล้วบันทึกผล

 













บันทึกผลการสังเกต
รายการ
ผลที่เกิดขึ้น
1. ระดับน้ำในสายพลาสติกใส
     – ปลายทั้งสองข้างอยู่ระดับเดียวกัน
     – ปลายทั้งสองข้างไม่อยู่ระดับเดียวกัน

2. เมื่อเป่าลมเข้าทางปลายสายพลาสติกด้านใดด้านหนึ่ง



สรุปผล
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………








คำถามท้ายการทดลอง
1. การบรรจุน้ำเข้าไปในสายพลาสติกใส จะต้องทำอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2. เพราะเหตุใดจึงใช้สายพลาสติกใสที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ใหญ่มากเกินไป
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. ขณะที่บรรจุน้ำเข้าไปในสายพลาสติกใส เพราะเหตุใดนักเรียนจึงต้องระวังไม่ให้ฟองอากาศค้างอยู่ในสายพลาสติกใส
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
4. เพราะเหตุใดจึงต้องงอสายพลาสติกใสให้โค้งพอประมาณก่อนทำการเป่าลมเข้าไปในสายพลาสติกใส
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5. ขณะทำกิจกรรมนักเรียนคิดว่า ถ้าต้องการให้กิจกรรมนี้มีคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด การสังเกตระดับน้ำในสายพลาสติกใสควรปฏิบัติอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
6. การที่นักเรียนเป่าลมข้างหนึ่งของสายพลาสติกใสเป็นการทำให้ความดันอากาศข้างนั้นเปลี่ยนไปในลักษณะใด
………………………………………………………………………………………………………………
7. เมื่อความดันของอากาศ 2 ข้างของสายพลาสติกใสไม่เท่ากัน ระดับน้ำอยู่ที่ระดับเดียวกันหรือไม่
   ………………………………………………………………………………………………………………
8. นักเรียนได้ประโยชน์อะไรจากการปฏิบัติกิจกรรมนี้
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
แผนการจัดการเรียนรู้ที่  6   วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2  รหัสวิชา ว 21102
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1                                           ภาคเรียนที่ 2                                              ปีการศึกษา  2555หน่วยการเรียนรู้ที่ 1   เรื่อง  บรรยากาศ                        
เรื่อง
  เมฆ หมอก                                                                                                                                      เวลา  2  ชั่วโมง
ผู้สอน  นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ                                                                                              โรงเรียน  ทุ่งสงวิทยา
 

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 6. 1       เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของ
กระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 8.1     ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ตัวชี้วัด
6.1 ม. 1/3 สังเกต วิเคราะห์ และอภิปรายการเกิดปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศที่มีผลต่อมนุษย์
8.1 ม.1-3/1 - .1-3/9

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายกระบวนการเกิดเมฆและหมอกได้ (K)
                2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
                3. ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
                4. พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ (A)
                5. ระบุและแยกประเภทของเมฆบนท้องฟ้าได้ (P)
6. สื่อสารและนำความรู้เรื่องเมฆและหมอกไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (P)



สาระสำคัญ
                เมฆ หมอก เป็นปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศอย่างหนึ่ง เมฆ เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศในระดับสูงจากพื้นโลก และรวมตัวกันเป็นก้อนเมฆ เมฆในท้องฟ้าแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่ เมฆชั้นสูง เมฆชั้นกลาง เมฆชั้นต่ำ และเมฆที่ก่อตัวในแนวตั้ง
                หมอก เกิดจากอากาศชื้นเย็นตัวและลอยต่ำใกล้ผิวโลก

สาระการเรียนรู้
ลมฟ้าอากาศ
                - เมฆและหมอก

กระบวนการจัดการเรียนรู้
ครูดำเนินการทดสอบก่อนเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพื่อตรวจสอบความพร้อมและพื้นฐานของนักเรียน
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                (1) ครูนำสนทนาพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับสภาพอากาศในช่วงนี้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง และสภาพอากาศที่แตกต่างกัน เช่น ร้อน หนาว ฝนตก เกิดพายุ มีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนเราและสิ่งแวดล้อมอย่างไร เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่องลมฟ้าอากาศ
                (2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจากแนวคำตอบของนักเรียน จากนั้นครูนำอภิปรายว่าปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศมีหลายอย่าง เช่น เมฆ หมอก ฝน พายุ เป็นต้น ในชั่วโมงนี้เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเกิดเมฆและหมอก

ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                จัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                1) ขั้นสร้างความสนใจ
(1) ครูให้นักเรียนมองออกไปนอกหน้าต่างห้องเรียน และมองขึ้นไปบนท้องฟ้า แล้วพูดคุยซักถามนักเรียน เช่น
                ­ เห็นอะไรบนท้องฟ้าบ้าง
                ­ ในแต่ละวันจะมีปริมาณเมฆแตกต่างกันหรือไม่
                ­ เมฆที่ปรากฏบนท้องฟ้าในแต่ละวันมีลักษณะ รูปร่าง เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
                (2) นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม 
                2) ขั้นสำรวจและค้นหา
                (1) ให้นักเรียนศึกษาความหมายของลมฟ้าอากาศ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดลมฟ้าอากาศในหนังสือเรียน จากนั้นให้นักเรียนดูภาพหรือซีดีรอมเกี่ยวกับเมฆและชนิดของเมฆ
                (2) เมื่อรู้จักชนิดของเมฆแล้ว ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะของเมฆ ระดับความสูง และผลของการเกิดเมฆแต่ละชนิด ดังนี้
                ­ เมฆชั้นสูง
                ­ เมฆชั้นกลาง
                ­ เมฆชั้นต่ำ
                ­ เมฆที่ก่อตัวในแนวตั้ง
                สมาชิกในกลุ่มแบ่งหัวข้อกันสืบค้นข้อมูล คนละ 1 หัวข้อ เมื่อได้ข้อมูลและศึกษาจนเป็นที่เข้าใจแล้ว นำมาถ่ายทอดให้สมาชิกในกลุ่มฟัง
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายผลของการปฏิบัติกิจกรรม แล้วส่งตัวแทนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
                (2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถาม เช่น
                ­ การเกิดเมฆต้องอาศัยองค์ประกอบอะไรบ้าง
                ­ เมฆแต่ละประเภทมีชื่อเรียกอะไรบ้าง
                ­ เมฆที่มีลักษณะอย่างไรทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
                ­ ใช้เกณฑ์อะไรในการแบ่งชนิดของเมฆ
                ­ เมื่อทราบชนิดและลักษณะของเมฆแล้ว นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่องนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
                (2) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรม จากนั้นให้นักเรียนศึกษาเรื่องหมอกและช่วยกันวิเคราะห์ว่าเมฆและหมอกแตกต่างกันในเรื่องใด
4) ขั้นขยายความรู้
   ให้นักเรียนสังเกตชนิดและปริมาณเมฆบนท้องฟ้าใน 1 วัน พร้อมทั้งวาดภาพประกอบ และบันทึกลักษณะของท้องฟ้า สภาพอากาศเมื่อมีเมฆชนิดนั้นเกิดขึ้น
(5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่า จากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
                (2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไขอย่างไรบ้าง
                (3) นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
                (4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
                ­ ลมฟ้าอากาศหมายถึงอะไร
                ­ การที่จะเกิดลมฟ้าอากาศได้ต้องอาศัยปัจจัยใดบ้าง
                ­ นักอุตุนิยมวิทยาแบ่งเมฆในท้องฟ้าออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
                ­ หมอกเกิดขึ้นได้อย่างไร
                ­ ทะเลหมอกมักจะปรากฏอยู่บนยอดเขาสูง เพราะอะไร

ขั้นสรุป
                ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับเมฆและหมอก โดยร่วมกันสรุปเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์

กิจกรรมเสนอแนะ
1. ถ้านักเรียนไปเที่ยวต่างจังหวัดในฤดูหนาวหรือไปเที่ยวภูเขา ให้สังเกตการเกิดหมอกในตอนเช้าและถ่ายภาพหมอกมาให้เพื่อน ๆ ดู
                2. ให้นักเรียนทำโครงงานสร้างแบบจำลองเมฆ โดยมีขั้นตอนดังนี้
                ­ สังเกตเมฆบนท้องฟ้าเป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน บันทึกผลการสังเกต
                ­ นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมาสร้างแบบจำลองเมฆ โดยใช้สำลีทำเป็นก้อนเมฆรูปต่าง ๆ และใช้กาวติดลงในกระดาษโปสเตอร์แข็งให้มีเมฆครบทุกชนิด และจัดวางในตำแหน่งเมฆชั้นสูง เมฆชั้นกลาง เมฆชั้นต่ำ และเมฆที่ก่อตัวในแนวตั้งให้ถูกต้อง
                ­ เขียนชื่อเมฆแต่ละชนิดถัดจากแบบจำลองเมฆ และบอกสภาพอากาศที่เกิดขึ้นเมื่อมีเมฆชนิดนั้นในท้องฟ้า

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
                1. ภาพหรือซีดีรอมเกี่ยวกับเมฆและชนิดของเมฆ
                2. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1







การวัดและการประเมินผล

สิ่งที่ต้องการวัด
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การประเมินผล
1. ด้านความรู้ความเข้าใจ
- ซักถามความรู้เรื่องการเกิดเมฆและหมอก
- ให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่เรียนรู้
- ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม
- ประเมินกิจกรรมฝึกทักษะระหว่างเรียน
- ทดสอบหลังเรียน
- สมุดบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
2. ด้านทักษะกระบวนการ
-  ให้นักเรียนศึกษาหาความรู้จากใบความรู้โดยใช้กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์
- ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
- สังเกตการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
- ใบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
3. ด้านเจตคติทางวิทยา ศาสตร์
-  สังเกตการทำกิจกรรมของนักเรียน

- แบบประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ 2








บันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
                ปัญหาและอุปสรรค
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
                แนวทางการแก้ไขเพื่อจะนำไปใช้ในครั้งต่อไป
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………………………………ผู้สอน
(นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ)
                ข้อเสนอแนะของครูพี่เลี้ยง
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………..……………….อาจารย์พี่เลี้ยง
(นางพรทิพย์  เชยบัวแก้ว)
















แผนการจัดการเรียนรู้ที่  7   วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2  รหัสวิชา ว 21102
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1                                           ภาคเรียนที่ 2                                              ปีการศึกษา  2555หน่วยการเรียนรู้ที่ 1   เรื่อง  บรรยากาศ                        
เรื่อง
  ฝน ลูกเห็บ และหิมะ                                                                                                                      เวลา  2  ชั่วโมง
ผู้สอน  นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ                                                                                              โรงเรียน  ทุ่งสงวิทยา
 

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 6. 1       เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของ
กระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 8.1     ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ตัวชี้วัด
6.1 ม. 1/สังเกต วิเคราะห์ และอภิปรายการเกิดปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศที่มีผลต่อมนุษย์
8.1 ม.1-3/1 - .1-3/9

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการเกิดฝน ลูกเห็บ และหิมะได้ (K)
                2. ประดิษฐ์เครื่องมือวัดปริมาณน้ำฝนอย่างง่ายและทดสอบวัดปริมาณน้ำฝนได้ (K)
                3. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
                4. ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนำความรู้เรื่องการเกิดฝน ลูกเห็บ และหิมะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (P)




สาระสำคัญ
                ฝน เกิดจากละอองไอน้ำขนาดต่าง ๆ กันในก้อนเมฆมารวมกัน และเกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ หยดน้ำที่มีขนาดใหญ่ไม่สามารถลอยตัวอยู่ในก้อนเมฆได้จึงตกลงมาเป็นฝน ปริมาณน้ำฝนสามารถวัดได้โดยใช้เครื่องมือวัดน้ำฝน ได้แก่ เครื่องวัดน้ำฝนแบบธรรมดาหรือแบบแก้วตวง และเครื่องวัดน้ำฝนแบบบันทึก
                ลูกเห็บ เป็นก้อนน้ำแข็งที่เกิดจากกระแสลมแรงที่เกิดในเมฆคิวมูโลนิมบัส
                หิมะ เป็นหยดน้ำที่แข็งตัวบนผลึกน้ำแข็ง ตกผ่านอากาศที่เย็นจัดลงมาจึงไม่ละลายกลายเป็นเกล็ดหิมะ       
สาระการเรียนรู้
                ลมฟ้าอากาศ
                    - ฝน ลูกเห็บ และหิมะ

กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                1) ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับการเกิดเมฆ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่องฝน โดยใช้แนวคำถาม เช่น
                ­ เมฆชนิดใดที่เป็นเมฆฝน
                ­ การเกิดเมฆเกี่ยวข้องกับการเกิดฝนอย่างไร
                ­ ฝนมีประโยชน์ต่อคน พืช และสัตว์อย่างไร
                2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจากแนวคำตอบของนักเรียน
ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                จัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                1) ขั้นสร้างความสนใจ
                (1) ครูสนทนาซักถามนักเรียนเกี่ยวกับฝน เช่น
­ ท้องถิ่นของนักเรียนมีประเพณีเกี่ยวกับการขอฝนหรือไม่ ถ้ามีให้ตัวแทนนักเรียนออกมาเล่าประเพณีการขอฝนหน้าชั้นเรียน
­ การประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่นเกี่ยวข้องกับฝนหรือไม่ อย่างไร
­ ในท้องถิ่นเคยประสบปัญหาฝนแล้งหรือน้ำท่วมหรือไม่ อย่างไร
­ ฝนมีกระบวนการเกิดอย่างไร
                (2) นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม
                2) ขั้นสำรวจและค้นหา
                (1) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายการเกิดฝน ลูกเห็บ และหิมะ โดยให้นักเรียนดูแผนภาพ หรือซีดีรอมประกอบ
                (2) นักเรียนแบ่งกลุ่มปฏิบัติกิจกรรม สังเกตการวัดปริมาณน้ำฝนอย่างง่าย แต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ดังนี้
                1. นำภาชนะที่เตรียมไว้ เช่น ขวดน้ำดื่ม ขวดปากกว้าง และกระป๋องรูปทรงและขนาดต่าง ๆ กัน ที่ทำด้วยพลาสติกใสมาตั้งไว้ในบริเวณสนามหญ้า (เขียนหมายเลขติดข้างขวด)
                2. จากนั้นใช้สายยางต่อเข้ากับท่อน้ำประปา เปิดน้ำ แล้วฉีดให้เป็นฝอยเหนือภาชนะที่ตั้งไว้ สังเกตปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นในภาชนะ จนกระทั่งระดับน้ำพอที่จะวัดได้
                3. วัดปริมาณน้ำโดยเทน้ำจากขวดพลาสติกใส่ลงในกระบอกตวง อ่านค่าที่ได้จากมาตราส่วนบนกระบอกตวง บันทึกผล แล้ววัดปริมาณน้ำในขวดใบต่อไปจนครบทุกขวด
                4. เปรียบเทียบปริมาณน้ำฝนในแต่ละภาชนะ   * หน่วยที่ใช้ในการวัดปริมาณน้ำฝน คือ มิลลิเมตร
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถาม เช่น
­ เพราะเหตุใดจึงต้องใช้ภาชนะที่มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกัน
­ ความสูงของน้ำในภาชนะแตกต่างกันหรือไม่
                ­ ความกว้างของปากขวดและความสูงของภาชนะมีผลต่อการรองรับน้ำฝนหรือไม่ เพราะอะไร
                ­ ผลสรุปของการทดลองนี้คืออะไร
                (3) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม จากนั้นครูให้นักเรียนศึกษาเครื่องมือวัดน้ำฝนแบบต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องวัดน้ำฝนแบบธรรมดาหรือแบบแก้วตวง และแบบวัดน้ำฝนแบบบันทึก
                (4) ให้นักเรียนร่วมกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดลูกเห็บและหิมะ แล้วนำมาอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
4) ขั้นขยายความรู้
(1) ครูอธิบายเพิ่มเติมว่า น้ำหรือน้ำแข็งที่ตกลงมายังพื้นโลกในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ฝน ลูกเห็บ หิมะ เรียกว่า หยาดน้ำฟ้า หยาดน้ำฟ้าที่ตกในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของฝน
(2) ให้นักเรียนทำรายงานเกี่ยวกับปริมาณเฉลี่ยของฝนที่ตกในประเทศไทย
(3) นักเรียนค้นคว้าคำศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับฝน ลูกเห็บ หิมะ จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต แล้วบันทึกลงในสมุด
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่า จากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
                (2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไขอย่างไรบ้าง
                (3) นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
                ­ ฝนมีกระบวนการเกิดอย่างไร
                ­ ลูกเห็บก่อตัวในเมฆชนิดใด และมีกระบวนการเกิดอย่างไร
                ­ หยาดน้ำฟ้าคืออะไร
                ­ ทำไมในประเทศไทยจึงไม่มีหิมะตก

ขั้นสรุป
                - ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับเมฆและหมอก โดยร่วมกันสรุปเขียนเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์

กิจกรรมเสนอแนะ
                1. นักเรียนจัดป้ายนิเทศเกี่ยวกับวัฏจักรของน้ำ การเกิดฝน ลูกเห็บ และหิมะ
                2. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเกล็ดหิมะที่มีหลายแบบ และประเทศที่มีหิมะตกในฤดูหนาว รวมทั้งศึกษาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของผู้คนและสิ่งแวดล้อมในบริเวณที่มีหิมะตก

สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
                1. ภาพหรือซีดีรอมเกี่ยวกับการเกิดฝน ลูกเห็บ และหิมะ
                2. ใบงานที่ 6 สังเกตการวัดปริมาณน้ำฝนอย่างง่าย
                3. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
               







การวัดและการประเมินผล

สิ่งที่ต้องการวัด
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การประเมินผล
1. ด้านความรู้ความเข้าใจ
- ซักถามความรู้เรื่องการเกิดฝน ลูกเห็บ และหิมะ
- ให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่เรียนรู้
- ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม
- ประเมินกิจกรรมฝึกทักษะระหว่างเรียน
- ทดสอบหลังเรียน
- สมุดบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
2. ด้านทักษะกระบวน การ
-  ให้นักเรียนศึกษาหาความรู้จากใบความรู้โดยใช้กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์
- ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
- สังเกตการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
- ใบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
3. ด้านเจตคติทางวิทยา ศาสตร์
-  สังเกตการทำกิจกรรมของนักเรียน

- แบบประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ 2








บันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
                ปัญหาและอุปสรรค
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
                แนวทางการแก้ไขเพื่อจะนำไปใช้ในครั้งต่อไป
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………………………………ผู้สอน
(นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ)
                ข้อเสนอแนะของครูพี่เลี้ยง
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………..……………….อาจารย์พี่เลี้ยง
(นางพรทิพย์  เชยบัวแก้ว)











ใบงานที่ 6
ทดลองวัดปริมาณน้ำฝนอย่างง่าย

ปัญหา
………………………………………………………………………………………………………………..

กำหนดสมมุติฐาน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

อุปกรณ์
1. ขวดพลาสติกใสที่มีรูปทรงและขนาดต่างกันอย่างละ                       1   ใบ
2. กระบอกตวง                                                                                              1  อัน

ทดสอบสมมุติฐาน
1. นำภาชนะที่เตรียมไว้ เช่น ขวดน้ำดื่ม ขวดปากกว้าง และกระป๋องรูปทรงและขนาดต่าง ๆ กันที่ทำด้วยพลาสติกใสมาตั้งไว้ในบริเวณสนามหญ้า (เขียนหมายเลขติดข้างขวด)
2. จากนั้นใช้สายยางต่อเข้ากับท่อน้ำประปา เปิดน้ำ แล้วฉีดน้ำให้เป็นฝอยเหนือภาชนะที่ตั้งไว้ สังเกตปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นในภาชนะ จนกระทั่งระดับน้ำพอที่จะวัดได้
3. วัดปริมาณน้ำโดยเทน้ำในขวดพลาสติกใส่ลงในกระบอกตวง อ่านค่าที่ได้จากมาตราส่วนบนกระบอกตวง บันทึกผล แล้ววัดปริมาณน้ำในขวดใบต่อไปจนครบทุกขวด
4. เปรียบเทียบปริมาณน้ำฝนในแต่ละภาชนะ

หมายเหตุ ปริมาณน้ำที่วัดได้เป็นเพียงค่าประมาณเท่านั้น เพราะกระบอกตวงที่ใช้ไม่ได้ผ่านการปรับเทียบอย่างถูกต้อง





บันทึกผลการสังเกต
ขวดใบที่
ปริมาณน้ำฝนที่วัดได้ (มิลลิเมตร)
1
2
3





สรุปผล
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

คำถามก่อนการทดลอง
1.              เพราะเหตุใดจึงต้องใช้ภาชนะที่มีรูปร่างและขนาดที่แตกต่างกัน
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2.              เพราะเหตุใดจึงต้องใช้ภาชนะที่มีลักษณะใส
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

คำถามหลังการทดลอง
3.              ความสูงของน้ำในแต่ละภาชนะแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
4.              ความกว้างของปากภาชนะและความสูงของภาชนะมีผลต่อการรองรับน้ำฝนหรือไม่ เพราะอะไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………


แผนการจัดการเรียนรู้ที่  8   วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2  รหัสวิชา ว 21102
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1                                           ภาคเรียนที่ 2                                              ปีการศึกษา  2555หน่วยการเรียนรู้ที่ 1   เรื่อง  บรรยากาศ                        
เรื่อง
  การเกิดลม                                                                                                                                      เวลา  2  ชั่วโมง
ผู้สอน  นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ                                                                                              โรงเรียน  ทุ่งสงวิทยา
 

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 6. 1       เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของ
กระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 8.1     ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ตัวชี้วัด
6.1 ม. 1/สังเกต วิเคราะห์ และอภิปรายการเกิดปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศที่มีผลต่อมนุษย์
8.1 ม.1-3/1 - .1-3/9

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายสาเหตุที่ทำให้อุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำแตกต่างกันได้ (K)
                2. อธิบายการเกิดลมได้ (K)
                3. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
                4. ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
5. สื่อสารและนำความรู้เรื่องการเกิดลมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (P)




สาระสำคัญ
                ลม คือ การเคลื่อนที่ของอากาศ เกิดจากความแตกต่างของความกดอากาศ โดยลมจะพัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงเข้าสู่บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ
สาระการเรียนรู้
                ลมฟ้าอากาศ
                   - กระบวนการเกิดลม
               
กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                1) ครูนำสนทนาซักถามกับนักเรียนว่า เคยเดินเล่นในสวนสาธารณะแล้วสังเกตเห็นใบไม้ไหว หรือรู้สึกเย็นที่ผิวกายหรือไม่ นักเรียนคิดว่าเกิดจากอะไร
                2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายจากแนวคำตอบของนักเรียน ครูเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่องการเกิดลม

ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                จัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                1) ขั้นสร้างความสนใจ
                (1) ครูตั้งประเด็นคำถาม เช่น
                ­ ส่วนต่าง ๆ ของโลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์เท่ากันหรือไม่ เพราะอะไร
                ­ เมื่อได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ บริเวณพื้นดินหรือพื้นน้ำจะมีอุณหภูมิสูงเท่ากันหรือไม่ อย่างไร
­ ความแตกต่างของอุณหภูมิเหนือพื้นดินและพื้นน้ำทำให้เกิดสิ่งใด
                (2) นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม ครูแนะนำให้นักเรียนหาคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรมต่อไปนี้
                2) ขั้นสำรวจและค้นหา
                (1) นักเรียนแบ่งกลุ่มปฏิบัติกิจกรรม สังเกตความแตกต่างของอากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำ แต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ดังนี้
                1. นำกระป๋องนมที่บรรจุดินและน้ำปริมาณเท่า ๆ กัน พร้อมกับเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ เทอร์มอมิเตอร์ ขาตั้ง และที่จับมาติดตั้งดังรูปในหนังสือเรียน





               





2. นำเทอร์มอมิเตอร์เสียบลงไปในกระป๋องดินและน้ำ กระป๋องละ 1 อัน บันทึกอุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์ทั้ง 2 อัน ลงในตารางบันทึกผล
                3. นำกระป๋องดินและน้ำที่มีเทอร์มอมิเตอร์เสียบอยู่ไปตั้งไว้กลางแดด จากนั้นใช้นาฬิกาจับเวลาที่ดินและน้ำมีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปทุก ๆ 1 องศาเซลเซียส จนครบ 5 องศาเซลเซียส บันทึกผลที่ได้
                4. นำกระป๋องดินและน้ำเข้ามาในที่ร่ม แล้วจับเวลาที่ดินและน้ำมีอุณหภูมิลดลงทุก ๆ 1 องศาเซลเซียส จนกระทั่งมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิเริ่มต้น บันทึกผล
                (2) นักเรียนกลุ่มเดิมปฏิบัติกิจกรรม สังเกตลมเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ดังนี้
                1. จัดตั้งอุปกรณ์ชุดการเกิดลมดังรูปในหนังสือเรียน








2. วัดอุณหภูมิที่ส่วนบนและส่วนล่างของกระป๋อง พร้อมทั้งสังเกตการเปลี่ยนแปลงของใบพัด
3. นำตะเกียงแอลกอฮอล์ที่จุดแล้วไปวางใต้ตะแกรงลวด  โดยจัดให้อยู่ตรงกลางกระป๋องชุดการเกิดลม ทำการวัดอุณหภูมิส่วนบนและส่วนล่างของกระป๋องอีกครั้งหนึ่ง และระวังอย่าให้กระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์สัมผัสถูกเปลวไฟ พร้อมทั้งสังเกตการเปลี่ยนแปลงของใบพัด
3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้แนวคำถาม เช่น
กิจกรรม สังเกตความแตกต่างของอากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำ
- อุณหภูมิเริ่มต้นของดินและน้ำเท่ากันหรือไม่
- การเพิ่มอุณหภูมิของดินและน้ำ สิ่งใดเพิ่มอุณหภูมิเร็วกว่ากัน
                - การลดอุณหภูมิของดินและน้ำ สิ่งใดลดอุณหภูมิเร็วกว่ากัน
                - ผลสรุปของการทดลองนี้คืออะไร
                กิจกรรม สังเกตลมเกิดขึ้นได้อย่างไร
                - เมื่อจุดไฟตะเกียงแอลกอฮอล์มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น
                - การเคลื่อนที่ของอากาศในกระป๋องเกิดขึ้นในทิศทางใด
                - อุณหภูมิของอากาศที่ชุดการเกิดลมมีลักษณะอย่างไร
                - ผลสรุปของการทดลองนี้คืออะไร
                (3) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยกิจกรรม สังเกตความแตกต่างของอากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำ ได้ข้อสรุปว่า ดินและน้ำใช้เวลาไม่เท่ากันในการทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น โดยน้ำจะใช้เวลามากกว่า ส่วนการทำให้อุณหภูมิลดลงน้ำก็ใช้เวลามากกว่าเช่นเดียวกัน จากกิจกรรมนี้สามารถเปรียบเทียบได้กับโลกของเรา ในตอนกลางวันพื้นดินจะมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นน้ำ อุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นดินจึงสูงกว่าอุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นน้ำ ส่วนในตอนกลางคืน พื้นน้ำจะคายความร้อนอย่างช้า ๆ ทำให้อากาศเหนือพื้นน้ำมีอุณหภูมิสูงกว่าอากาศเหนือพื้นดิน จากความแตกต่างของอุณหภูมิของอากาศเหนือบริเวณพื้นดินและพื้นน้ำนี่เองเป็นสาเหตุของการเกิดลม
                กิจกรรม สังเกตลมเกิดขึ้นได้อย่างไร ให้ได้ข้อสรุปว่า ความแตกต่างของความกดอากาศในสองบริเวณทำให้เกิดลม โดยลมจะพัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ
4) ขั้นขยายความรู้
(1) ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจความหมาย และลักษณะของความกดอากาศสูงและความกดอากาศต่ำ โดยใช้แผนภาพประกอบ
(2) ให้นักเรียนทำรายงานเกี่ยวกับการเกิดลมบก ลมบก และประโยชน์ของลมบก ลมทะเล
(3) นักเรียนค้นคว้าคำศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับลม จากหนังสือเรียนภาษาต่างประเทศหรืออินเทอร์เน็ต แล้วบันทึกลงในสมุด
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่า จากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
                (2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไขอย่างไรบ้าง
                (3) นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
                ­ ลมเกิดขึ้นได้อย่างไร
                ­ ลมมีทิศทางการพัดในลักษณะใด
                ­ ความกดอากาศสูงและความกดอากาศต่ำหมายถึงอะไร
                ­ ลมมีประโยชน์อะไรบ้าง

ขั้นสรุป
                ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับเมฆและหมอก โดยร่วมกันเขียนสรุปเป็นแผนที่ความคิดหรือผังมโนทัศน์

กิจกรรมเสนอแนะ
                นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานจากลม แล้วนำมาจัดป้ายนิเทศ


สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
                1. ใบงานที่ 7 สังเกตความแตกต่างของอากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำ
                2. ใบงานที่ 8 สังเกตลมเกิดขึ้นได้อย่างไร
                3. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1











การวัดและการประเมินผล

สิ่งที่ต้องการวัด
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การประเมินผล
1. ด้านความรู้ความเข้าใจ
- ซักถามความรู้เรื่องการเกิดลม
- ให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่เรียนรู้
- ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม
- ประเมินกิจกรรมฝึกทักษะระหว่างเรียน
- ทดสอบหลังเรียน
- สมุดบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
2. ด้านทักษะกระบวน การ
-  ให้นักเรียนศึกษาหาความรู้จากใบความรู้โดยใช้กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์
- ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
- สังเกตการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
- ใบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
3. ด้านเจตคติทางวิทยา ศาสตร์
-  สังเกตการทำกิจกรรมของนักเรียน

- แบบประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ 2









บันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
                ปัญหาและอุปสรรค
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
                แนวทางการแก้ไขเพื่อจะนำไปใช้ในครั้งต่อไป
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………………………………ผู้สอน
(นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ)
                ข้อเสนอแนะของครูพี่เลี้ยง
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………..……………….อาจารย์พี่เลี้ยง
(นางพรทิพย์  เชยบัวแก้ว)











ใบงานที่ 7
สังเกตความแตกต่างของอากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำ

ปัญหา
………………………………………………………………………………………………………………

อุปกรณ์
1. กระป๋องนมขนาดเดียวกัน บรรจุดินและน้ำปริมาณเท่า ๆ กัน ประมาณของกระป๋อง            2   ใบ
2. เทอร์มอมิเตอร์                                                           2   อัน
3. ขาตั้ง                                                                                   1  อัน
4. ที่จับ                                                                    2   อัน
5. นาฬิกา                                                                                 1 เรือน

ขั้นตอนการสังเกต
1. นำกระป๋องนมที่บรรจุดินและน้ำปริมาณเท่า ๆ กัน ที่เตรียมไว้พร้อมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้แก่ เทอร์มอมิเตอร์ ขาตั้งและที่จับมาติดตั้ง ดังรูป











แสดงการติดตั้งอุปกรณ์ทดสอบความแตกต่างของอากาศเหนือพื้นดินและพื้นน้ำ

2. เมื่อนำเทอร์มอมิเตอร์ทั้งสองอันเสียบไว้ที่กระป๋องทั้งสองแล้ว ให้นักเรียนบันทึกอุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์ทั้งสองอันลงในแบบบันทึกผลการทดลอง
3. นำกระป๋องดินและน้ำที่มีเทอร์มอมิเตอร์เสียบอยู่ไปตั้งไว้กลางแดด จากนั้นใช้นาฬิกาจับเวลาที่ดินและน้ำมีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปทุก ๆ 1 องศาเซลเซียส จนครบ 5 องศาเซลเซียส บันทึกผลที่ได้
4. นำกระป๋องดินและน้ำเข้ามาในที่ร่ม แล้วใช้นาฬิกาจับเวลาที่ดินและน้ำมีอุณหภูมิลดลงทุก ๆ 1 องศาเซลเซียส จนกระทั่งมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิที่เริ่มต้นบันทึกในข้อที่ 2

หมายเหตุ
1.  กระป๋องนมควรล้างให้สะอาด และดินที่ใช้ควรเป็นดินร่วนและแห้ง
2.  ก่อนใช้เทอร์มอมิเตอร์ให้สังเกตอุณหภูมิบนเทอร์มอมิเตอร์ทั้ง 2 อันว่าเท่ากันหรือไม่ ถ้าไม่เท่ากันควรบันทึกไว้ด้วยว่าอุณหภูมิเท่าไร
3.  การจัดเทอร์มอมิเตอร์ควรให้กระเปาะเทอร์มอมิเตอร์ลงไปอยู่กลางกระป๋องบรรจุดินและน้ำ แต่อย่าให้แตะก้นกระป๋อง ใช้ที่จับยึดเทอร์มอมิเตอร์ไว้กับขาตั้งให้แน่น
4.  การอ่านอุณหภูมิต้องให้สายตาอยู่ในแนวระดับเดียวกับปรอท
5.  ถ้าในวันทดลองไม่มีแสงแดด นักเรียนอาจใช้โคมไฟขนาด 100 วัตต์แทน โดยจัดให้ระยะดวงไฟอยู่สูงจากพื้นประมาณ 24 เซนติเมตร และวางกระป๋องทั้งสองให้ห่างจากดวงไฟเป็นระยะเท่า ๆ กัน

บันทึกผลการสังเกต


อุณหภูมิเริ่มต้น
(C)

เวลาที่ใช้เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไป 5 C (นาที)

วางกลางแดด
วางในที่ร่ม

  1 C
1  C
1  C
1  C
1 C
1  C
1 C
1 C
1  C
1 C
ดิน











น้ำ












สรุปผล
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

คำถามท้ายการทดลอง

1.    ถ้าไม่มีกระป๋องนมจะใช้กล่องพลาสติกแทนได้หรือไม่
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2.    ดินที่ใช้ในการสังเกตควรมีลักษณะใด
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3.    ขณะที่สังเกตกระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์จะอยู่ติดข้างกระป๋องได้หรือไม่ เพราะอะไร
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
4.    กิจกรรมนี้นี้ถ้าแสงแดดอ่อน จะได้ผลหรือไม่
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5.    อุณหภูมิเริ่มต้นของดินและน้ำเท่ากันหรือไม่
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
6.    การเพิ่มอุณหภูมิของดินและน้ำ สิ่งใดเพิ่มอุณหภูมิเร็วกว่ากัน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
7.    การลดอุณหภูมิของดินและน้ำ สิ่งใดลดอุณหภูมิเร็วกว่ากัน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………








ใบงานที่ 8
สังเกตลมเกิดขึ้นได้อย่างไร

ปัญหา
………………………………………………………………………………………………………………

อุปกรณ์
1. ชุดการเกิดลม                                  1 ชุด                      
2. ตะแกรงลวด                                    1 อัน
3. ตะเกียงแอลกอฮอล์                       1 อัน                     
4. ที่บังลม                                             1 อัน
5. เทอร์มอมิเตอร์                                1 อัน

ขั้นตอนการสังเกต
1. จัดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เตรียมมา ดังรูป
2. วัดอุณหภูมิที่ส่วนบนและส่วนล่างของกระป๋อง พร้อมทั้งสังเกตการเปลี่ยนแปลงของใบพัด
3. นำตะเกียงแอลกอฮอล์ที่จุดแล้วไปวางใต้ตะแกรงลวด โดยจัดให้อยู่ตรงกลางกระป๋องชุดการเกิดลม ทำการวัดอุณหภูมิส่วนบนและส่วนล่างของกระป๋องอีกครั้งหนึ่ง และระวังอย่าให้กระเปาะของเทอร์มอมิเตอร์สัมผัสถูกเปลวไฟ พร้อมทั้งสังเกตการเปลี่ยนแปลงของใบพัด





บันทึกผลการสังเกต

รายการ
อุณหภูมิของอากาศ (C)
การเปลี่ยนแปลงของใบพัด
ส่วนบนของกระป๋อง
ส่วนล่างของกระป๋อง
ไม่จุดไฟ



จุดไฟ




สรุปผล
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………...........................................................................................................................................................................................................................................................................
















คำถามท้ายการทดลอง

1.              หน้าที่สำคัญของตะเกียงแอลกอฮอล์ และเทอร์มอมิเตอร์คืออะไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2.              ควรให้ความระมัดระวังกับเทอร์มอมิเตอร์อย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3.              ควรตั้งตะเกียงแอลกอฮอล์ในลักษณะใด
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
4.              เมื่อจุดไฟตะเกียงแอลกอฮอล์มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้น
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5.              การเคลื่อนที่ของอากาศในกระป๋องเกิดขึ้นในทิศทางใด
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
6.              อุณหภูมิของอากาศที่ชุดการเกิดลมมีลักษณะอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
7.              ความคลาดเคลื่อนของกิจกรรมนี้อาจเกิดจากอะไรบ้าง
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………






แผนการจัดการเรียนรู้ที่  9   วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน 2  รหัสวิชา ว 21102
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1                                           ภาคเรียนที่ 2                                              ปีการศึกษา  2555หน่วยการเรียนรู้ที่ 1   เรื่อง  บรรยากาศ                        
เรื่อง
  การวัดลม                                                                                                                                        เวลา  2  ชั่วโมง
ผู้สอน  นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ                                                                                              โรงเรียน  ทุ่งสงวิทยา
 

มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 6. 1       เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของ
กระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว 8.1     ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ตัวชี้วัด
6.1 ม. 1/สังเกต วิเคราะห์ และอภิปรายการเกิดปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศที่มีผลต่อมนุษย์
8.1 ม.1-3/1 - .1-3/9

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ประดิษฐ์และใช้เครื่องมือวัดทิศทางและตรวจสอบความเร็วลมได้ (K)
                2. มีความสนใจใฝ่รู้หรืออยากรู้อยากเห็น (A)
                3. ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ (A)
4. สื่อสารและนำความรู้เรื่องการเกิดฝน ลูกเห็บ และหิมะไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (P)

สาระสำคัญ
ลมมีทิศทางและความเร็วในการเคลื่อนที่ เราสามารถวัดทิศทางและความเร็วลมของลมโดยใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือที่ใช้วัดทิศทางลม เรียกว่า ศรลม ส่วนเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความเร็วลม เรียกว่า แอนนิมอมิเตอร์          
กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
                1) ครูนำกังหันที่ทำมาจากกระดาษเข้ามาในชั้นเรียนให้นักเรียนลองเล่นดู แล้วถามนักเรียนว่ากังหันกระดาษจะทำงานได้ดีเมื่อมีสิ่งใด และเวลาเล่นเราควรดูทิศของลมหรือไม่
                2) นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม

ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                จัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
                1) ขั้นสร้างความสนใจ
                (1) ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับการเกิดลม แล้วถามนักเรียนว่า
                - เราจะสังเกตว่ามีลมพัดได้จากอะไร
- เราจะสามารถสร้างเครื่องมือในการวัดทิศทางและความเร็วลมได้หรือไม่ อย่างไร
                (2) นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม ครูแนะนำนักเรียนว่าสามารถเรียนรู้ได้จากกิจกรรมต่อไปนี้
2) ขั้นสำรวจและค้นหา
                (1) นักเรียนแบ่งกลุ่มปฏิบัติกิจกรรม ประดิษฐ์เครื่องมือตรวจสอบทิศทางลมอย่างง่าย แต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ดังนี้
1.  นำคลิปหนีบกระดาษ 2 อัน มาง้างให้ปลายข้างหนึ่งยืดออก ดังรูป ()
2. นำคลิปหนีบกระดาษที่ง้างเสร็จแล้วทั้ง 2 อัน ติดเข้ากับแกนไม้ โดยรัดปลายคลิปหนีบกระดาษด้วยเส้นด้าย แล้วพันด้วยเทปกาวให้แน่น
3.  นำลูกศรที่ตัด ดังรูป () มาติดเข้ากับคลิปหนีบกระดาษทั้ง 2 อัน พร้อมกับนำแกนไม้สอดเข้าไปในหลอดกาแฟที่ปักอยู่บนก้อนดินน้ำมัน ดังรูป ()
4  นำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปวางไว้ในบริเวณที่มีลมพัด แล้วสังเกตการเคลื่อนไหวของลูกศร และสังเกตทิศที่ลูกศรชี้ไป









3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
(1) นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
(2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถาม เช่น
­ เมื่อตั้งอุปกรณ์ไว้ในบริเวณที่ลมพัด ลูกศรจะชี้ไปในทิศทางใด
­ การนำศรลมไปตั้งในบริเวณที่แตกต่างกัน มีผลต่อการวัดทิศทางลมหรือไม่
                ­ การบอกทิศทางของลมจากศรลมดูได้อย่างไร
                (3) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม จากนั้นให้นักเรียนศึกษาหลักการทำงานของเครื่องมือตรวจสอบทิศทางลมที่เรียกว่า ศรลม ในหนังสือเรียน
                (4) ให้นักเรียนศึกษาเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบความเร็วลมที่เรียกว่า เครื่องวัดความเร็วลม หรือแอนนิมอมิเตอร์ แล้วถามนักเรียนว่าเราสามารถสร้างเครื่องมือสำหรับวัดตรวจสอบความเร็วลมได้หรือไม่ ทำอย่างไร
                (5) นักเรียนช่วยกันตอบคำถาม ครูแนะให้นักเรียนทดลองทำ
4) ขั้นขยายความรู้
(1) นักเรียนแบ่งกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามใบงาน ประดิษฐ์เครื่องมือตรวจสอบความเร็วลมอย่างง่าย แต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ ดังนี้
1. ตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมที่มีขนาดเท่ากัน 3 อัน แล้วพับเป็นรูปกรวย ดังรูป ()
จากนั้นจึงใช้เทปกาวหรือทากาวติดให้แน่น




-



2. ง้างคลิปหนีบกระดาษ 3 อัน ให้ปลายข้างหนึ่งยืดออกมา แล้วนำมาผูกติดกับแกนไม้ที่เตรียมไว้ด้วยเส้นด้ายให้แน่น จากนั้นจัดให้คลิปหนีบกระดาษทำมุมเท่า ๆ กัน ดังรูป () แล้วจึงใช้เทปกาวพันให้แน่น
3. นำกรวยกระดาษที่เตรียมไว้ มาติดที่ปลายของคลิปหนีบกระดาษทั้ง 3  อัน ด้วยเทปกาวโดยจัดให้ปากกรวยหันไปในทางเดียวกัน จากนั้นจึงจับแกนไม้สอดเข้าไปในหลอดกาแฟที่ปักยึดติดอยู่กับก้อนดินน้ำมัน ดังรูป ()
4. นำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปวางไว้ในบริเวณที่มีลมพัด แล้วสังเกตการเคลื่อนไหวของกรวย
กระดาษ และความเร็วของการเคลื่อนไหว
(2) ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลจากการปฏิบัติกิจกรรม โดยใช้แนวคำถาม เช่น
­ เมื่อตั้งอุปกรณ์ไว้ในบริเวณที่ลมพัด กรวยกระดาษจะมีลักษณะอย่างไร
­ การนำกรวยกระดาษไปตั้งในบริเวณที่แตกต่างกัน มีผลต่อการวัดความเร็วลมหรือไม่
­ การบอกความเร็วลมจากกรวยกระดาษพิจารณาจากอะไร
­ หลักการของกรวยกระดาษ นักวิทยาศาสตร์นำไปประดิษฐ์เครื่องมือวัดความเร็วลมมีชื่อว่าอะไร
(3) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปผลจากการปฏิบัติกิจกรรม
5) ขั้นประเมิน
(1) ครูให้นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่า จากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ถ้ามีครูช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้นักเรียนเข้าใจ
                (2) นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหาหรืออุปสรรคใด และได้มีการแก้ไขอย่างไรบ้าง
                (3) นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
(4) ครูทดสอบความเข้าใจของนักเรียนโดยการให้ตอบคำถาม เช่น
                - เครื่องมือที่ใช้วัดและตรวจสอบทิศทางลมเรียกว่าอะไร มีหลักการทำงานอย่างไร
                - เครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจสอบความเร็วลมเรียกว่าอะไร มีหลักการทำงานอย่างไร

ขั้นสรุป
                - ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับการวัดลม

กิจกรรมเสนอแนะ
                1. นักเรียนแบ่งกลุ่มปฏิบัติกิจกรรม สังเกตการวัดความเร็วลม (1) และกิจกรรม สังเกตการวัดความเร็วลม (2)
                2. ให้นักเรียนออกแบบและสร้างเครื่องมือตรวจสอบทิศทางลม โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น และระบุถึงอุปกรณ์ที่ใช้และวิธีสร้างเครื่องมือ พร้อมคำอธิบายประกอบ


สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
                1. กังหันที่ทำมาจากกระดาษ
                2. ใบงานที่ 9 ประดิษฐ์เครื่องมือตรวจสอบทิศทางของลมอย่างง่าย
                3. ใบงานที่ 10 ประดิษฐ์เครื่องมือตรวจสอบความเร็วลมอย่างง่าย
                4. ใบงานที่ 11 สังเกตการวัดความเร็วลม (1)
                5. ใบงานที่ 12 สังเกตการวัดความเร็วลม (2)
                6. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ เล่ม 2  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
               
การวัดและการประเมินผล

สิ่งที่ต้องการวัด
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การประเมินผล
1. ด้านความรู้ความเข้าใจ
- ซักถามความรู้เรื่องการวัดลม
- ให้นักเรียนบันทึกสิ่งที่เรียนรู้
- ให้นักเรียนตอบคำถามท้ายกิจกรรม
- ประเมินกิจกรรมฝึกทักษะระหว่างเรียน
- ทดสอบหลังเรียน
- สมุดบันทึกการปฏิบัติกิจกรรม
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
2. ด้านทักษะกระบวน การ
-  ให้นักเรียนศึกษาหาความรู้จากใบความรู้โดยใช้กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์
- ประเมินพฤติกรรมในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
- สังเกตการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์
- ใบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60
3. ด้านเจตคติทางวิทยา ศาสตร์
-  สังเกตการทำกิจกรรมของนักเรียน

- แบบประเมินเจตคติทางวิทยาศาสตร์
ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพ 2


บันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
                ปัญหาและอุปสรรค
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
                แนวทางการแก้ไขเพื่อจะนำไปใช้ในครั้งต่อไป
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………………………………ผู้สอน
(นางสาวสลาลี  โรจน์สุวรรณ)
                ข้อเสนอแนะของครูพี่เลี้ยง
                ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ……………..……………….อาจารย์พี่เลี้ยง
(นางพรทิพย์  เชยบัวแก้ว)











ใบงานที่ 9
ประดิษฐ์การทำเครื่องมือตรวจสอบทิศทางของลมอย่างง่าย

ปัญหา
………………………………………………………………………………………………………………

อุปกรณ์
1. กระดาษแข็งขนาดประมาณ  20  ซม. × 15  ซม.                1  แผ่น                
2. คลิปหนีบกระดาษ                                                                     2  อัน
3. แกนไม้เล็ก ๆ ยาวประมาณ  10  ซม.                                1 อัน                     
4.  เทปกาว                                                                                                    1  ม้วน
5.  หลอดกาแฟ                                                                              1  หลอด                                               
6. ก้อนดินน้ำมัน                                                                           1   ก้อน
7. กรรไกร                                                                                                     1   อัน                                   
8.  เส้นด้ายยาวประมาณ   20  ซม.                                                1  เส้น

ขั้นตอนการสังเกต
1. นำคลิปหนีบกระดาษ 2 อัน มาง้างให้ปลายข้างหนึ่งยืดออก ดังรูป ()
2. นำคลิปหนีบกระดาษที่ง้างเสร็จแล้วทั้ง 2 อัน ติดเข้ากับแกนไม้ โดยรัดปลายคลิปหนีบกระดาษด้วยเส้นด้าย แล้วพันด้วยเทปกาวให้แน่น
3. นำลูกศรที่ตัด ดังรูป () มาติดเข้ากับคลิปหนีบกระดาษทั้ง 2 อัน พร้อมกับนำแกนไม้สอดเข้าไปในหลอดกาแฟที่ปักอยู่บนก้อนดินน้ำมัน ดังรูป ()
4. นำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปวางไว้ในบริเวณที่มีลมพัด แล้วสังเกตการณ์เคลื่อนไหวของลูกศร และสังเกตทิศที่ลูกศรชี้ไป






คำถามท้ายกิจกรรม

1.              เมื่อตั้งอุปกรณ์ไว้ในบริเวณลมพัด ลูกศรจะชี้ไปในทิศทางใด
……………………………………………………………………………………………………….
2.              ความยาวของลูกศรที่ตัดจากกระดาษแข็ง ถ้าแตกต่างกันจะมีผลต่อการวัดทิศทางลมหรือไม่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3.              การนำศรลมไปตั้งในบริเวณที่แตกต่างกัน มีผลต่อการวัดทิศทางลมหรือไม่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
4.              การบอกทิศทางของลมจากศรลมดูได้อย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5.              หลักการของศรลม นักวิทยาศาสตร์นำไปประดิษฐ์เครื่องมือวัดทิศทางลมมีชื่อว่าอะไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
 















ใบงานที่ 10
ประดิษฐ์การทำเครื่องมือตรวจสอบความเร็วของลมอย่างง่าย

ปัญหา  
………………………………………………………………………………………………………………

อุปกรณ์
1. กระดาษรูปวงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง   7 ซม.                            3  ชิ้น                    
2. คลิปหนีบกระดาษ                                                                                      3  อัน
3. แกนไม้เล็ก ๆ  ยาวประมาณ  10  ซม.                                                 1 อัน                     
4.  เทปกาว                                                                                                                    1  ม้วน
5. หลอดกาแฟ                                                                                               1 หลอด                                
6. ก้อนดินน้ำมัน                                                                                           1  ก้อน
7. กรรไกร                                                                                                                     1  อัน                                    
8. เส้นด้ายยาวประมาณ  20  ซม.                                                                   1  เส้น

ขั้นตอนการสังเกต
1. ตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมที่มีขนาดเท่ากัน 3 อัน แล้วพับเป็นรูปกรวย ดังรูป () จากนั้นจึงใช้เทปกาวหรือทากาวติดให้แน่น
2. ดัดง้างคลิปหนีบกระดาษ 3 อันให้ปลายข้างหนึ่งยืดออกมา แล้วนำมาผูกติดกับแกนไม้ที่เตรียมไว้ด้วยเส้นด้ายให้แน่น จากนั้นจัดให้คลิปหนีบกระดาษทำมุมเท่า ๆ กัน ดังรูป ()แล้วจึงใช้เทปกาวพันให้แน่น
3. นำกรวยกระดาษที่เตรียมไว้ มาติดที่ปลายของคลิปหนีบกระดาษทั้ง 3  อัน ด้วยเทปกาวโดยจัดให้ปากกรวยหันไปในทางเดียวกัน จากนั้นจึงจับแกนไม้สอดเข้าไปในหลอดกาแฟที่ปักยึดติดอยู่กับก้อนดินน้ำมัน ดังรูป
()



4. นำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปวางไว้ในบริเวณที่มีลมพัด แล้วสังเกตการเคลื่อนไหวของกรวยกระดาษ และความเร็วของการเคลื่อนไหว
ดึงภาพจาก หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ เล่ม 2 .1 หน้า 212

 

สรุปผล
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

คำถามท้ายกิจกรรม

1.              เมื่อตั้งอุปกรณ์ไว้ในบริเวณที่ลมพัด กรวยกระดาษจะมีลักษณะอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………
2.              ถ้านักเรียนตัดกระดาษที่ใช้ทำกรวยมีขนาดไม่เท่ากันแล้ว จะมีผลต่อการทดลองหรือไม่
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3.              การนำกรวยกระดาษไปตั้งในบริเวณที่แตกต่างกัน มีผลต่อการวัดความเร็วลมหรือไม่
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………....
4.              การบอกความเร็วลมจากกรวยกระดาษพิจารณาจากอะไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
5.              หลักการของกรวยกระดาษ นักวิทยาศาสตร์นำไปประดิษฐ์เครื่องมือวัดความเร็วลมมีชื่อว่าอะไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………





ใบงานที่ 11
สำรวจการวัดความเร็วลม (1)

ปัญหา
………………………………………………………………………………………………………..............

อุปกรณ์
1. เครื่องมือตรวจสอบความเร็วของลมอย่างง่าย                                1 เครื่อง
2. นาฬิกาจับเวลา                                                                   1 เรือน

ขั้นตอนการสำรวจ
1. ให้นักเรียนนำเครื่องตรวจสอบความเร็วของลมที่ประดิษฐ์ขึ้นในการทำกิจกรรมที่ 33 มาตรวจสอบความเร็วลมโดยตั้งเครื่องตรวจสอบความเร็วของลมไว้ตรงบริเวณที่โล่งแจ้ง ดังรูป
2. วัดความเร็วลมที่เวลาต่าง ๆ กันใน 1 วัน โดยเริ่มตั้งแต่ 08.00  น., 10.00 น., 12.00 น., และ 16.00  น. ตามลำดับ จับเวลาการหมุนของกรวยกระดาษครบ 50 รอบ บันทึกผลการตรวจสอบ
















บันทึกผลการสำรวจ

วันที่ตรวจสอบ
เวลาที่ตรวจสอบ
เวลาที่กรวยกระดาษหมุนครบ 50 รอบ

08.00 น.
10.00 น.
12.00 น.
16.00 น.


สรุปผล
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

คำถามท้ายการทดลอง

1.              นักเรียนควรสังเกตสิ่งใดในการปฏิบัติกิจกรรมนี้
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2.              เวลาที่กรวยกระดาษหมุนครบ 50 รอบที่เวลาต่าง ๆ กัน มีค่าเป็นอย่างไร
……………………………………………………………………………………………………….
3.              การที่เวลาจากการหมุนของกรวยกระดาษครบ 50 รอบมีค่าแตกต่างกัน นักเรียนคิดว่าขึ้นอยู่กับสิ่งใด
………………………………………………………………………………………………………
4.              ความเร็วลมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในช่วงเวลาต่าง ๆ กัน
……………………………………………………………………………………………………….
 






ใบงานที่ 12
สำรวจการวัดความเร็วลม  (2)
ปัญหา
……………………………………………………………………………………………………………......

  อุปกรณ์
1. เครื่องมือตรวจสอบความเร็วของลมอย่างง่าย                                                1 เครื่อง
2. นาฬิกา                                                                                                1 เรือน

ขั้นตอนการสำรวจ
1. นำเครื่องตรวจสอบความเร็วของลมที่ประดิษฐ์ขึ้นในการทำกิจกรรมที่ 33 มาตรวจสอบความเร็วลมโดยตั้งเครื่องตรวจสอบความเร็วของลมไว้ตรงบริเวณที่โล่งแจ้ง ดังรูป
2. วัดความเร็วลม ณ เวลาเดียวกันใน 1 สัปดาห์ โดยจับเวลาการหมุนของกรวยกระดาษ ครบ 50 รอบ ที่เวลา 12.30 น. บันทึกผลการสำรวจ
          















บันทึกผลการสำรวจ

วันที่ตรวจสอบ
เวลาที่ตรวจสอบ
เวลาที่กรวยกระดาษหมุนครบ 50 รอบ

12.30 น.
12.30 น.
12.30 น.
12.30 น.
12.30 น.
12.30 น.
12.30 น.


สรุปผล
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

คำถามท้ายการทดลอง
1.              ควรตั้งอุปกรณ์ไว้ในบริเวณใด
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2.              เวลาที่กรวยกระดาษหมุนครบ 50 รอบ ณ เวลาเดียวกันในแต่ละวัน มีค่าเป็นอย่างไร
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3.              ความคลาดเคลื่อนของกิจกรรมนี้อาจเกิดจากอะไรบ้าง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………...
 

              

          

          
 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น